0212 00176 016b1

เรื่องปีชงเป็นฮิตไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นความเชื่อที่ขาดเหตุผลมากที่สุด แต่กลับมีคนหลงเชื่อมากที่สุด มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากที่สุด เพราะหาเงินกับความเชื่อเรื่องนี้ได้มากที่สุด เพราะ 1 ปีมีตั้ง 4 ชง  เรียกว่า 1.ชง 2.คัก 3.เฮ้ง 4. ผั่ว 5.ไห่ ทั้งหมดบอกว่าเป็นปีร้ายตลอดทั้งปี สำหรับปีเกิดใน 12 นักษัตร ชวด ฉลู ฯลฯ จนคนปีชงทั้งหลายไม่กล้าทำการมงคลต่างๆ เช่น  แต่งงาน สร้างบ้าน หรือ เปลี่ยนงานใดใดในปีนี้

 

 tai sui

 

 

และเรื่องความเชื่อปีชงนี้ ได้ทำลายชีวิต และอนาคตของผู้คนมาแล้วจำนวนมาก คู่รักบางคู่ถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกัน เพราะเกิดปีชงกัน เจ้านายไม่รับลูกน้องที่เกิดปีชงเข้าทำงาน ไม่ว่าจะมีความสามารถมากเพียงใดก็ตาม  เมื่อมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้น คนใกล้ตัวที่เกิดปีชงกัน ก็จะถูกเพ่งโทษว่าเป็นตัวต้นเหตุ

 

คำว่า"ชง" แปลว่า ปะทะ หรือ เล็งกัน(ในระบบโหราศาสตร์)ซึ่งอาจจะมีดีและร้าย เช่น เมื่อมีดาวดีมาปะทะ(ชง) ก็ย่อมจะนำโชคดีมาให้  หากมีดาวร้ายมาปะทะ(ชง) ก็ย่อมจะนำโชคร้ายมาให้ ดังนั้นเราจะเห็นว่าคนปีชงในบางปีกลับมีโชคใหญ่ ไม่มีโชคร้ายใดใดเลย

 

ปีชง เป็นวิชาหมอดูแบบจีนซึ่งการดูแค่ปีที่ชงกันหรือปะทะกัน ซึ่งหยาบมากเกินไปเพราะดูแค่ปีเท่านั้น แต่ยังต้องมีการคำนวณวัน ชง เวลาชง และเดือนชงอีก จึงจะนับว่าชงจริงๆ

 

คำว่าปีชงนี้ ภาษาจีนมักจะไม่เรียกปีชง แต่จะเรียกว่า"ฟ่านไท่ซุ่ย"犯太 หรือ เทพไท่ส่วยเอี๊ยให้โทษ ก็เลยมีการเซ่นไหว้บูชา เพื่อมิให้เป็นโทษแก่ตนเองก็เลยกลายเป็น เทพคุ้มครองดวงชาตา

 

ไท่ซุ่ย ในโหราศาสตร์จีน บางตำราก็ว่าเป็นดาวพฤหัสหรือดาวอายุ 歲星 บางตำราก็ว่า เป็นดาวประเภทหนึ่งที่เป็นดาวฉายา หรือ ดาวอุปเคราะห์ ที่เป็นศัตรูและมีลักษณะตรงข้ามและเป็นอริต่อดาวพฤหัส มีผลทำลายอายุ ทำลายโชคลาภและทำให้มีเคราะห์ คล้ายๆกับโหรไทยเรียกว่า ดาวพฤหัสให้โทษ หรือ ดาวพฤหัสจรในบางปีสถิตย์ในตำแหน่งเสียต่อดวงชาตา  สำหรับกรณีนี้สามารถตรวจสอบจากโหรไทยหรือภารตะ ว่าดาวพฤหัส เสียจริงๆหรือไม่ในดวงชาตาสำหรับปีที่บอกว่า"ชง"

 

ฉะนั้นปีชงสามารถทำการมงคลได้ และไม่ต้องกลัวว่าจะมีโชคร้ายตลอดปี เพียงต้องตรวจดู เดือน วัน เวลา ประกอบด้วย  อีกทั้งการนับปีนักษัตร เช่น ปีชวด ฉลูของไทย กับจีน นับต่างกัน  ของไทยเริ่มนับใหม่ในช่วง สงกรานต์ และ/หรือ วันเถลิงศก และ/หรือ เดือน 1 ไทย  และ/หรือ เดือน 5 แล้วแต่ครูอาจารย์บางสำนัก ส่วนของจีนนับจากสารทลิบชุน (ใกล้ๆตรุษจีน) หรือ ประมาณวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จึงจะเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด ฉลู)

 

 12an

 

Dog Year 2018 1

 

 

เรื่องปีชงเป็นฮิตไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นความเชื่อที่ขาดเหตุผลมากที่สุด แต่กลับมีคนหลงเชื่อมากที่สุด มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากที่สุด เพราะหาเงินกับความเชื่อเรื่องนี้ได้มากที่สุด เพราะ 1 ปีมีตั้ง 4 ชง เรียกว่า 1.ชง 2.คัก 3.เฮ้ง 4. ผั่ว 5.ไห่ ทั้งหมดบอกว่าเป็นปีร้ายตลอดทั้งปี สำหรับปีเกิดใน 12 นักษัตร ชวด ฉลู ฯลฯ จนคนปีชงทั้งหลายไม่กล้าทำการมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน สร้างบ้าน หรือ เปลี่ยนงานใดใดในปีนี้

และเรื่องความเชื่อปีชงนี้ ได้ทำลายชีวิต และอนาคตของผู้คนมาแล้วจำนวนมาก คู่รักบางคู่ถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกัน เพราะเกิดปีชงกัน เจ้านายไม่รับลูกน้องที่เกิดปีชงเข้าทำงาน ไม่ว่าจะมีความสามารถมากเพียงใดก็ตาม เมื่อมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้น คนใกล้ตัวที่เกิดปีชงกัน ก็จะถูกเพ่งโทษว่าเป็นตัวต้นเหตุ

คำว่า"ชง" แปลว่า ปะทะ หรือ เล็งกัน(ในระบบโหราศาสตร์)ซึ่งอาจจะมีดีและร้าย เช่น เมื่อมีดาวดีมาปะทะ(ชง) ก็ย่อมจะนำโชคดีมาให้ หากมีดาวร้ายมาปะทะ(ชง) ก็ย่อมจะนำโชคร้ายมาให้ ดังนั้นเราจะเห็นว่าคนปีชงในบางปีกลับมีโชคใหญ่ ไม่มีโชคร้ายใดใดเลย

ปีชง เป็นวิชาหมอดูแบบจีนซึ่งการดูแค่ปีที่ชงกันหรือปะทะกัน ซึ่งหยาบมากเกินไปเพราะดูแค่ปีเท่านั้น แต่ยังต้องมีการคำนวณวัน ชง เวลาชง และเดือนชงอีก จึงจะนับว่าชงจริงๆ

คำว่าปีชงนี้ ภาษาจีนมักจะไม่เรียกปีชง แต่จะเรียกว่า"ฟ่านไท่ซุ่ย"犯太 หรือ เทพไท่ส่วยเอี๊ยให้โทษ ก็เลยมีการเซ่นไหว้บูชา เพื่อมิให้เป็นโทษแก่ตนเองก็เลยกลายเป็น เทพคุ้มครองดวงชาตา

ไท่ซุ่ย ในโหราศาสตร์จีน บางตำราก็ว่าเป็นดาวพฤหัสหรือดาวอายุ 歲星 บางตำราก็ว่า เป็นดาวประเภทหนึ่งที่เป็นดาวฉายา หรือ ดาวอุปเคราะห์ ที่เป็นศัตรูและมีลักษณะตรงข้ามและเป็นอริต่อดาวพฤหัส มีผลทำลายอายุ ทำลายโชคลาภและทำให้มีเคราะห์ คล้ายๆกับโหรไทยเรียกว่า ดาวพฤหัสให้โทษ หรือ ดาวพฤหัสจรในบางปีสถิตย์ในตำแหน่งเสียต่อดวงชาตา สำหรับกรณีนี้สามารถตรวจสอบจากโหรไทยหรือภารตะ ว่าดาวพฤหัส เสียจริงๆหรือไม่ในดวงชาตาสำหรับปีที่บอกว่า"ชง"

ฉะนั้นปีชงสามารถทำการมงคลได้ และไม่ต้องกลัวว่าจะมีโชคร้ายตลอดปี เพียงต้องตรวจดู เดือน วัน เวลา ประกอบด้วย อีกทั้งการนับปีนักษัตร เช่น ปีชวด ฉลูของไทย กับจีน นับต่างกัน ของไทยเริ่มนับใหม่ในช่วง สงกรานต์ และ/หรือ วันเถลิงศก และ/หรือ เดือน 1 ไทย และ/หรือ เดือน 5 แล้วแต่ครูอาจารย์บางสำนัก ส่วนของจีนนับจากสารทลิบชุน (ใกล้ๆตรุษจีน) หรือ ประมาณวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จึงจะเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด ฉลู)