หมวด: การคำนวณดวงพิชัยสงคราม,คัมภีร์สุริยยาตร์และมานัตต์
จำนวนผู้อ่าน: 11232

ภาค7 การคำนวณสมผุสพระอาทิตย์และรวิภุชผล

หาสมผุสพระอาทิตย์และรวิภุชผล ของวันเกิดของเจ้าชาตา คือ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ณ. เวลาท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร

ก. การคำนวณหาสมผุสพระอาทิตย์และรวิภุชผลให้ตั้งมัธยมพระอาทิตย์ในวันนั้นลง แล้วลบด้วย 2 ราศี 20 องศาผลลัพธ์เป็น “พลอาทิตย์” แล้วดูผลลัพธ์ที่เป็น ราศี เป็น เกณฑ์ในการคำนวณต่อไป

-เกณฑ์ราศีเป็น 0,1,2           ให้ใช้ผลลัพธ์นั้นได้เลย

-เกณฑ์ราศีเป็น 3,4,5           ให้เอา เกณฑ์ “อัฑฒจักร” หรือ 6 ราศี (10800 ลิปดา) ตั้ง ลบด้วย พลอาทิตย์

-เกณฑ์ราศีเป็น 6,7,8           ให้เอา พลอาทิตย์ตั้ง ลบด้วย เกณฑ์ “อัฑฒจักร”หรือ 6 ราศี (10800ลิปดา)

-เกณฑ์ราศีเป็น 9,10,11       ให้เอาทวาทศมณฑล หรือ 12 ราศี (21600 ลิปดา) ตั้ง ลบด้วย พลอาทิตย์

ผลลัพธ์จากการทำตามเกณฑ์ข้างต้นนั้น เรียกว่า “พลเกณฑ์”

ข.ให้คูณราศีของ“พลเกณฑ์”ด้วย 2 ราศี ผลลัพธ์เป็น “ขันธ์” (หากองศามากกว่า 15 องศาให้เอา 15 องศาลบออกเสียก่อน แล้วเพิ่มขันธ์อีก 1 ขันธ์ )

ค.แล้วเอา 60 คูณองศาของ”พลเกณฑ์” และบวกกับลิปดาที่เหลือ  ลัพธ์เป็น “ภุชลิปด์”

ง.จากนั้นก็ให้ดู “ตารางฉายาพระอาทิตย์” คูณด้วย “ฉายาเท่าขันธ์” จากตาราง(เทียบจากขันธ์ในข้อข.) แล้วหารด้วย 900  ลัพธ์ที่ได้ บวกกับ”ฉายาชั้นบน” เอา 60 หาร ผลลัพธ์เป็นองศา ให้ลง 0 ตั้งเป็นราศี สำเร็จเป็น “รวิภุชผล”

จ.จากนั้นก็นำ“รวิภุชผล” ไปบวก หรือ ลบ ตามเกณฑ์ราศี ผลลัพธ์สำเร็จเป็น “สมผุสพระอาทิตย์” หรือ”มหาสมผุส”

-เกณฑ์ราศีเป็น 0,1,2 ,3,4,5                เป็นเกณฑ์ลบ

-เกณฑ์ราศีเป็น 6,7,8,9,10,11             เป็นเกณฑ์บวก


ตารางฉายาพระอาทิตย์

ขันธ์

ฉายาชั้นบน

ฉายาเท่าขันธ์

0

1

2

3

4

5

-

35

67

94

116

129

134

35

32

27

22

13

5

วิธีทำ  สูตร             ก. (มัธยมพระอาทิตย์) -  2 ราศี 20 องศา = พลอาทิตย์

ข. ผลลัพธ์ข้อ ก นำไปหาเกณฑ์คำนวณ  = พลเกณฑ์

-เกณฑ์ราศีเป็น 0,1,2           ให้ใช้ผลลัพธ์นั้นได้เลย

-เกณฑ์ราศีเป็น 3,4,5           ให้เอา เกณฑ์ “อัฑฒจักร” หรือ 6 ราศี (10800 ลิปดา) ตั้ง ลบด้วย พลอาทิตย์

-เกณฑ์ราศีเป็น 6,7,8           ให้เอา พลอาทิตย์ตั้ง ลบด้วย เกณฑ์ “อัฑฒจักร”หรือ 6 ราศี (10800ลิปดา)

-เกณฑ์ราศีเป็น 9,10,11       ให้เอาทวาทศมณฑล หรือ 12 ราศี (21600 ลิปดา) ตั้ง ลบด้วย พลอาทิตย์

 

 

ค. พลเกณฑ์ X 2 ราศี-ของพลเกณฑ์  = ขันธ์

-หากองศามากกว่า 15 องศาให้เอา 15 องศาลบออกเสียก่อน แล้วเพิ่มขันธ์อีก 1 ขันธ์

ง. (องศา-ของพลเกณฑ์ X 60)+ลิปดา-พลเกณฑ์=  ภุชลิปด์

จ. ฉายาเท่าขันธ์ X องศา      ÷ 900 =   ผลลัพธ์ จ.

ฉ. (ผลลัพธ์ จ.) + (ฉายาชั้นบน) =  ผลลัพธ์ ฉ.

ช. (ผลลัพธ์ ฉ.) ÷ 60   =   ผลลัพธ์ ช. (องศา,ลิปดา)

ซ. (ราศี 0) +(ผลลัพธ์ ช.) =   รวิภุชผล

-เกณฑ์ราศีเป็น 0,1,2 ,3,4,5 เป็นเกณฑ์ลบ  ,เกณฑ์ราศีเป็น 6,7,8,9,10,11  เป็นเกณฑ์บวก

ฌ.(รวิภุชผล) +/- (มัธยมพระอาทิตย์)   =   สมผุสพระอาทิตย์

1.1). (6.12 ° 9 5 ) - (2.20 ° 0 0 ) = 3.22 ° 9 5 (3 เป็นพลอาทิตย์)

1.2) (6.00 ° 0 0 ) – (3.22 ° 9 5 ) =  2.7 ° 50 55 (2 เป็นพลเกณฑ์)

1.3)  2 X  2  =  4 ขันธ์ 7 ° 50 55 (องศาไม่เกิน15)

1.4) (7 °) +50 =  470

1.5)  470 X 13   =  6110

1.6) 6110 ÷ 900    =  6 เศษ 710

1.7) 6 + 116  =  122

1.8) 122 ÷ 60     =  2 เศษ 2 ( 2องศา 2 ลิปดา)

1.9) (0.0 ° 0 0 ) + 2 ° 2 =  0.2 ° 2 0 เป็นรวิภุชผล (ราศี 3เป็นเกณฑ์ลบ)

1.10) (6.12 ° 9 5 ) - (0.2 ° 2 0 ) = 6.10 ° 7 5


ดังนั้น สมผุสพระอาทิตย์คือ  6 ราศี 10 องศา 7 ลิปดา 5 ฟิลิปดา