หมวด: โหราวิทยา เล่ม 1 ผูกดวงชาตา
จำนวนผู้อ่าน: 11211

บทที่ 1

จักรราศี

˜

(1)  ทัศนของโหราศาสตร์ฝ่ายตะวันออก  (ที่แพร่หลายอยู่ในประเทศ อินเดีย พม่า มอญ ไทย) ถือโลกเป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์เป็นบริวารโคจรอยู่รอบโลกได้แบ่งที่ว่างในท้องฟ้าหรือจักรวาลออกเป็น 12 ส่วน เพื่อไว้เป็นที่หมายการโคจรของดาวเคราะห์  กำหนดเรียกส่วนนั้น ๆ ว่าราศี  รวมทั้ง 12 ราศี หรือ 12 ส่วนเข้าด้วยกันเรียกว่าจักรราศี  จักรราศีเป็นวงกลมใหญ่ในท้องฟ้าเริ่มต้นที่ดาวฤกษ์อิสวิณีแล้วมาบรรจบที่อัสวิณีอีก

(2)  ราศีทั้ง 12 ของจักรราศีสมมุตชื่อและกำหนดให้มีนักษัตร  ประจำราศีไว้เฉพาะแต่ละราศี  เริ่มต้นที่จะดาวฤกษ์อัสวิณีราศีต้นหรือราศีที่ 1 เรียกว่าราศีเมษแพะเป็นนักษัตร์ประจำราศีใช้ 0 เป็นเครื่องหมาย  ต่อไปราศีพฤศภโคเป็นนักษัตร์ประจำราศี เลข 1 เป็นเครื่องหมายราศีมิถุนมนุษย์ผู้ชายหญิงเลข 2 เป็นเครื่องหมาย    ราศีกรกฎปูเลข 3    ราศีสิงห์  ๆ เลข 4   ราศีกันย์หญิงพรหมาจารีย์เลข 5    ราศีตุลย์ตราชูเลข 6    ราศีพฤศจิกแมลงป่องเลข 7    ราศีธนู ๆ เลข 8   ราศีมกรมังกรเลข 9   ราศีกุมภ์หม้อน้ำ   เลข 10 ราศีมีนปลาเลข 11


(3)  ทุกราศีมีคุณลักษณะพิเศษให้ความหมายต่าง ๆ กัน ท่านกำหนดให้เขียนแผนจักรราศีหรือแผนจำลองของท้องฟ้าเป็นรูปวงกลมขีดแบบออกเป็น 12 ช่อง ๆ ละราศีนับเวียน จากขวาไปซ้าย เริ่มต้นที่ราศีเมษบรรจบครบ 12 ราศีที่ราศีมีน  ราศีหนึ่งแบ่งออก 30 ส่วนเรียกว่าองศา  องศาหนึ่งแบ่งออกเป็น 60 ลิปดา  ลิปดาหนึ่งแบ่งออก 60 พิลิปดาเป็นมาตราจักรราศีดังนี้ 60 พิลิปดาเป็น 1 ลิปดาเป็น 1 องศา 30 องศาเป็น 1 ราศี 12 ราศีเป็น 1 จักรราศี.