หมวด: โหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ)-ความรู้พื้นฐาน
จำนวนผู้อ่าน: 15872

การวิเคราะห์ดวงสมพงศ์ด้วยโหราศาสตร์แบบพระเวท/Jyotish


โดยปกติแล้วในหมู่ผู้ที่นับถือพระเวท  การใช้โหราศาสตร์เพื่อการประเมินผลจับคู่ดวงชะตาของบ่าว-สาวเป็นสิ่งที่สำคัญและยอมรับกันอย่างสูง


การพิจารณาดวงสมพงศ์เป็นเรื่องที่สร้างความสับสนได้อยู่บ่อยๆ บางธรรมเนียมผู้พยากรณ์(นักพยากรณ์รุ่นเก่าบางคนมักมองเฉพาะ “กูตะทั้งหลาย”เป็นหลักในการพิจารณาและตัดสิน) จะใช้วิธี Kutas เพื่อการเทียบ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิธีเทียบแบบ Kutas จะพิจารณาเพียงแค่ ตำแหน่งจันทร์จากผัง Nakshatra ของฝ่ายหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ขัดแย้งหรือส่งผลร้ายกับตำแหน่งจันทร์ใน Nakshatra ของอีกฝ่ายหนึ่ง (ตำแหน่งจันทร์ที่เสวยนักษัตร) (เราจะทำความเข้าใจกับวิธีพิจารณาแบบนี้ภายหลัง) ซึ่งการพิจารณาเพียงตำแหน่งจันทร์ ในผัง Nakshatra เพียงอย่างเดียวก็ให้ผลที่จำกัด

(อย่างไรก็ตามการใช้เฉพาะ “กูฏตะ”จากตำแหน่งจันทร์ที่เสวยนักษัตรในการพิจารณาผลนั้น เป็นมุมมองที่คับแคบเกินไป)

ในบางคู่ การแต่งงานใช้ชีวิตคู่อาจจะเป็นเรื่องยากเย็น และเหตุผลของอุปสรรคต่างๆก็ปรากฏในผังดวงของพวกเขาว่า พวกเขาจะมีอุปสรรคในการแต่งงาน แต่ผู้เขียนไม่เชื่อว่าการขัดขวางหรือสร้างอุปสรรค ไม่ให้คนอื่นได้ทำตามที่ใจเรียกร้องจะเป็นสิ่งที่ดีในการพยากรณ์

(บางครั้งบางครา  การแต่งงานของคนบางคู่กลับเป็นเรื่องที่ลำบากยากเย็นและมีอุปสรรคขัดขวาง แต่ก็เนื่องจากว่าในพื้นดวงของคนเหล่านั้น ก็จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวเอาไว้อยู่แล้ว  แต่ผู้เขียนไม่เชื่อว่าสิ่งที่ถูกบ่งชี้ในพื้นดวงชาตากำเนิดนั้น จะเป็นอุปสรรคกับคนที่ต้องการเติมเต็มในสิ่งที่อาจจะสนองความต้องการภายในจิตใจของเขา คือ การนำโหราศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์)

หากเราลองมองในอีกมุมหนึ่ง สมมติว่าถ้าคนที่มีจุดเสียของงดวงคู่ในดวงชะตา เลยต้องหาคนที่มีจุดเสียเหมือนกัน เพราะคิดว่าข้อเสียเหล่านั้นจะกลายเป็นกลางต่อกันแล้ว กรรมที่เจ้าชะตาควรจะต้องประสบก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแบบอื่นในวันหน้า (จุดเสียก็จะถูกลบล้างและเคราะห์กรรมที่จะส่งผลร้ายก็จะต้องไปเสวยผลกรรมในชาติหน้า)

ผู้เขียนเองอาจมีความคิดเห็นที่ต่างไปจากธรรมเนียมนี้ แต่ผู้เขียนก็เลือกที่จะรับกรรมในช่วงชีวิตนี้ดีกว่าเลี่ยงกรรมนั้นไปเรื่อยแล้วต้องกลับมาใช้กรรมในชาติต่อๆไปอีก

ผู้เขียนยังกังขาอีกว่าวิธีการเช่นนี้จะลบล้างข้อขัดแย้งหรือจุดด้อยนั้นได้อย่างไร

1. KUJA DOSHA คุชะโทษะ

การแก้จุดเสียในดวงคู่ที่เป็นที่รู้จักกันวิธีหนึ่งคือ การแก้ไข KUJA DOSHA

ข้อกำหนดจุดเสียนี้ พิจารณาจากตำแหน่งของ อังคาร ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นตำแหน่งที่ให้ผลร้ายกับชีวิตแต่งงาน

เกณฑ์ที่นับว่าเป็น KUJA DOSHA คือ


เหตุผลของหลักพิจารณานี้คือ ดาวอังคารเป็นดาวบาปเคราะห์ และหากสถิตในเรือนต่างๆดังกล่าว จะส่งผลร้าย ทำลายเรือนคู่ครอง  (ปัตนิ เรือนที่เจ็ด เรือนแห่งการสมรส) ชีวิตครอบครัว (กดุมพะ เรือนที่สอง) บรรยากาศภายในบ้าน (พันธุ เรือนที่สี่ เรือนความสุข) ความสัมพันธ์ระหว่างสามี - ภรรยา (มรณะ เรือนที่แปด) และเรื่องกามารมณ์ (วินาศน์ เรือนที่สิบสอง) อิทธิพลร้ายจากดาวอังคารนี้ส่งผลได้ไม่ว่าจะโดยเชิงมุม หรือโดยการสถิตในเรือนนั้นๆเอง

The logic behind the exceptions is not always clear.

หลักคิดของข้อกฎข้อยกเว้นยังไม่กระจ่าง

นักพยากรณ์บางคนยังถือเกณฑ์ต่อไปนี้เป็น Kuja Dosha เช่นกัน


ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ หากเราพิจารณาตำแหน่งเกณฑ์  Kuja Dosha เพิ่มเติมไปจากลัคนาเกิดแล้ว เราจะพบข้องขัดแย้งในดวงสมพงศ์นี้ได้มากถึง 80% ของชาตากำเนิดทั่วๆไปเลยทีเดียว


ผู้เขียนเชื่อว่าการพิจารณาระวัง ดาวอังคารในตำแหน่งเสียที่ส่งผลร้ายในเรื่องความสัมพันธ์เหล่านี้มีประโยชน์ แต่นี่ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา บางครั้ง ดาวเสาร์ในเรือนเหล่านี้ก็ส่งผลร้ายได้เช่นกัน และในเรื่องของความสัมพันธ์นี้ เรายังต้องพิจารณาจากดวงนวางค์จักรเพิ่มเติมจากราศีจักรอีกด้วย

ผู้เขียนคิดว่าอย่าเพิ่งแตกตื่นหากเห็น Kuja Dosha ในดวงชะตา เพราะเกณฑ์นี้เป็นเกณฑ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย พบเห็นได้มาก (ไม่อย่างงั้นทุกๆคนก็มีปัญหากันหมดโลกสิ)

2. LONGEVITY ความถาวรของชีวิตคู่

อีกหลักที่ควรพิจารณาคือความอายุยืนของคู่ครอง เพราะหากคู่ครองอายุสั้น ชิวิตแต่งงานก็พลอยสั้นไปด้วย หากผู้พยากรณ์พบว่าฝ่ายใดจะมีอายุสั้น ผู้พยากรณ์อาจให้คำทำนายไปว่าบุคคลนั้นไม่เหมาะสมที่จะแต่งงานด้วย

เรื่องอายุยืนก็เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนในตัวเองอยู่แล้ว ผู้เขียนขออธิบายเพียงคร่าวๆว่า วิธีการพยากรณ์ความยืนยาวนี้ มีอยู่สองวิธี อย่างไรก็ตาม Richard Houck ก็วิจารณ์ไว้ในหนังสือ ‘the astrology of death’ ของเขาว่าเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลมากนัก

ข้อแนะนำของผู้เขียนคือ ทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าเรือนที่หนึ่ง(ไม่ว่าจะเป็นตัวเรือนเอง หรือดาวเจ้าเรือน)และพระจันทร์ในดวงกำเนิด มีความเข้มแข็ง รวมทั้งไม่มี ดาวในทุสถานะมากนัก เจ้าชะตานั้นจะมีชีวิตที่ยืนยาว กว่าคนที่มีเรือนที่หนึ่งและพระจันทร์อ่อนแรงทั้งยังมีดาวในทุสถานะจำนวนมากกว่า

นี่เป็นกฎทองคำที่ง่ายและมีประโยชน์กว่าวิธีการอื่นๆที่ยุ่งยาก ซับซ้อนแล้วยังใช้จริงไม่ค่อยได้วิธีอื่นๆอีกมากมาย

3. การวิเคราะห์อย่างง่าย

วิธีการวิเคราะห์ดวงสมพงศ์โดยวิธีการโหราศาสตร์พระเวทที่ง่ายๆและผู้เขียนนิยมมีดังนี้

พิจารณาจากลัคนาของ A และ B ว่าอยู่ในราศีใด แล้วความสัมพันธ์ของราศีทั้งสองเป็นอย่างไร หากลัคนาเป็น 2/12 หรือ 6/8 ความสัมพันธ์นั้นไม่สมพงศ์ แต่ถ้าเป็น 5/9 ผู้เขียนคิดว่า 3/11 ก็เป็นสมพงศ์สัมพันธ์ที่ดีเช่นกัน และถ้าลัคนาของทั้งคู่อยู่ในราศีเดียวกัน ก็เป็นองค์ประกอบในดวงสมพงศ์ที่ดี

นอกจากความสัมพันธ์เชิงมุมแบบเล็งกันแล้ว การเป็นเกณฑ์ต่อกัน (4/10 และมุมเล็ง) ก็ไม่ให้ผลดีในการพิจารณาดวงสมพงศ์เช่นกัน

การพิจารณาตามกฎนี้คือความเชื่อว่าหากทั้งสองราศีปกครองโดยดาวประเภทเดียวกันแล้ว จะให้ผลดี ตัวอย่างเช่น ราศีตุลย์ และ พฤษภ มีความสัมพันธ์เป็น 6/8 แต่เมื่อดาวศุกร์เป็นเจ้าเรือนของทั้งสองราศี ดังนั้นทั้งสองราศีก็ย่อมมีอะไรที่พ้องกันอยู่

เรายังสามารถเทียบหาความสัมพันธ์ของ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวอังคารในดวงชะตาทั้งสองในทำนองนี้ได้เช่นกัน

และแน่นอน ดาวต่างดวงกันย่อมส่งผลที่ต่างกัน (ตัวอย่างเช่น ดาวพุธ เป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสาร ในความสัมพันธ์)

ผู้เขียนไม่คิดว่าการเทียบดาวเสาร์และดาวพฤหัสจะมีประโยชน์นักนอกจากคู่นั้นๆจะมีอายุที่แตกต่างกันมาก (เรียกได้ว่ามากกว่า 5 ปี) เพราะดาวเสาร์และดาวพฤหัสเป็นดาวที่เคลื่อนเดินช้า

เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของดาวเหล่านี้ในเชิงธาตุ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจันทร์ของ A สถิตย์ในราศีสิงห์ และจันทร์ของ B สถิตย์ในกรกฏ เราก็จะพบปัญหาว่าน้ำและไฟไม่เอื้อกันนัก (เป็นศัตรูก็ว่าได้)

ความสัมพันธ์นี้จะเป็นผลดีกับ B มากกว่า A ตำแหน่งจันทร์ของ A เป็นเรือนที่สองจากตำแหน่งจันทร์ของ B ในขณะที่ตำแหน่งจันทร์ของ B กลับเป็นเรือนที่สิบสองของตำแหน่งจันทร์ของ A ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า B อาจจะให้ผลร้ายแก่ A

เรายังอาจวิเคราะห์ดาวเป็นคู่ๆได้ หากดาวศุกร์ของฝ่ายหนึ่งอยู่ตรงข้าม(เล็ง)กับดาวอังคารของอีกฝ่ายนั่นหมายความว่าทั้งคู่มีความรู้สึกทางเพศต่อกันอย่างรุนแรง และความสัมพันธ์นี้ยังรวมไปถึงกรณีที่ดาวศุกร์ของฝ่ายหนึ่งร่วมเรือนกับดาวอังคารของอีกฝ่าย

เรายังสามารถใช้ความสัมพันธ์ลักษณะนี้กับ พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้อีกด้วย หากอาทิตย์ของฝ่ายหนึ่งอยู่ตรงข้าม(เล็ง)กับจันทร์ของอีกฝ่ายนั่นหมายความว่าความสัมพันธ์นี้ไปได้ด้วยดี รวมไปถึงกรณีที่อาทิตย์ ของฝ่ายหนึ่งร่วมเรือนกับจันทร์ของอีกฝ่าย

ในกรณีที่ว่านี้ จะเกิดผลดีเพราะเป็นการถ่ายเทพลังงานของเพศหญิง (Shakti: ศักติ จันทร์และศุกร์) และชาย (Shiva: ศิวะ อาทิตย์และอังคาร)

Iนี่เป็นวิธีที่ได้ประโยชน์สูงแล้วก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าคุณจะใช้วิธีนี้ขอแนะนำให้ใช้ตาราง(จักรราศี)ตามแบบอินเดียใต้ เพราะในตารางรูปแบบนี้ สัญลักษณ์(Sign=ราศี) ที่ต่างกันไปจะอยู่ในที่เดียวกันเสมอ


4. SUDARSHAN CHAKRA

อีกวิธีที่สามารถนำมาวิเคราะห์อิทธิพลของดวงดาวได้อีกวิธีคือ พิจารณาจากดาวลอยในแต่ละเรือน วิธีพิจารณานี้เรียกว่า Sudarshan Chakra ซึ่งจะเป็นแผนผังที่ประกอบด้วยวงกลมซ้อนกันสองวง เหมือนแบบที่ใช้ในตะวันตก ผังวงกลมด้านในคือผังของคู่ครอง และผังวงกลมด้านนอกคือผังของอีกฝ่าย ลัคนาของทั้งคู่จะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน (มักใช้ตำแหน่งบนสุด)

เราจะเห็นได้ชัดว่าเรือนไหนของ A จะส่งผลไปยังเรือนของ B ยกตัวอย่างเช่นฝ่าย A มีดาวลอยอยู่มากในเรือนที่แปดของ B ก็เป็นไปได้สูงว่า A จะได้พบและเผชิญหน้ากับ B

หาก B มีดาวมากในเรือนที่เก้าของ A  B จะเป็นคนเปิดโลกกว้างให้กับ A ทำให้ A รู้สึกดีๆเพราะ B โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดาวของ B ในเรือนที่เก้าของ A เป็นดาวศุภเคราะห์ แต่ถ้าดาวของ B ในเรือนที่เก้าของ A เป็นดาวบาปเคราะห์แล้ว ก็เป็นไปได้ว่า B จะสร้างข้อจำกัดหรือขัดขวางการเปิดโลกทัศน์ของ A