หมวด: โหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ)-ความรู้พื้นฐาน
จำนวนผู้อ่าน: 19782

Vedic Thai Friend Enemi Planet

วิเคราะห์ดาวคู่มิตร-ศัตรูแบบภารตะ-ไทย

ในการวิเคาระห์และคำนวณดวงชาตาในระบบโหราศาตร์ภารตะนั้น มีกฏเกณฑ์การคำนวณสลับซับซ้อนและแตกต่างจากโหราศาสตร์ไทยอย่างเห็นได้ชัด เช่นหลักทั่วไปตามตำราโหราศาตร์ไทยนั้นนำหลักมาจากตำนานดาวเคาระห์ เช่นบทกลอนที่ว่า

ดาวคู่มิตรแบบไทย

อาทิตย์ เป็นมิตรกับครู (พฤหัสบดี)   จันทร์โฉมตรู พุธนงเยาว์  ศุกร์ปากหวาน อังคารรับเอา  ราหูกับเสาร์ เป็นมิตรแก่กัน

หรือบ้างก็ว่าในเรื่องดาวคู่ศัตรู เช่น

อาทิตย์ ผิดใจกับอังคาร   พุธอันธพาล วิวาทกับราหู  ศุกร์กับเสาร์ นานเนาว์เป็นศัตรู   จันทร์กับครู เป็นคู่อริกัน

 

ซึ่งข้างต้นนี้รู้สึกจะแตกต่างกับโหราศาสตร์ภารตะค่อนข้างมาก ในทางภารตะนั้นท่านจำแนกคู่มิตรศัตรูแบบเฉพาะชาตาเลย ของใครของมัน บางคนดาวเสาร์กับอังคารอาจจะไม่ใช่เป็นศัตรูกันก็ได้ แต่ในดวงบางคนเสาร์อังคารก็กลายเป็นศัตรูตัวฉกาจในดวงชาตา ในภารตะนี้ต้องคำนวณดวงชาตากันก่อนจึงจะรู้ได้ว่าเป็นมิตร-ศัตรูกันอย่างไร

นอกจากนี้ก็ยังมีดาวเคราะห์ที่เป็นกลางต่อกัน ก็จะต้องทายผลไปกันอีกแบบ ส่วนคู่มิตร-ศัตรูกันก็ยังมีศัตรูใหญ่ มีมิตรใหญ่ มีศัตรูน้อย มีมิตรน้อยเข้ามาอีก อันนี้ผู้ศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและพิจารณาดูให้ดี

1.นิสรคิกะมิตร- ดาวคู่มิตรศัตรูแบบถาวรตามธรรมชาติ ตามหลักโหราศาสตร์ภารตะ

ดาวเคราะห์

มิตร

ศัตรู

เป็นกลาง (สามะ)

อาทิตย์

อังคาร จันทร์ พฤหัส

ศุกร์ เสาร์

พุธ

จันทร์

อาทิตย์ พุธ

--

อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์

อังคาร

อาทิตย์ จันทร์ พฤหัส

พุธ

ศุกร์ เสาร์

พุธ

อาทิตย์ ศุกร์

จันทร์

อังคาร พฤหัส เสาร์

พฤหัส

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร

พุธ ศุกร์

เสาร์

ศุกร์

พุธ เสาร์

อาทิตย์ จันทร์

อังคาร พฤหัส

เสาร์

พุธ ศุกร์

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร

พฤหัส

 

ราศีคู่มิตรศัตรู  ตามหลักนิสรคิกะ ถาวรตามธรรมชาติ

ดาวเคราะห์

ราศีมิตร

ราศีศัตรู

ราศีเป็นกลาง (สามะ)

อาทิตย์

เมษ,พิจิก,กรกฏ,มีน,ธนู

พฤษภ,ตุลย์,มังกร,กุมภ์

มิถุน, กันย์

จันทร์

สิงห์,มิถุน,กันย์

ไม่มี

พิจิก,เมษ,ธนู,มีน,ตุลย์,พฤษภ,มังกร

อังคาร

กรกฏ,สิงห์,ธนู,มีน

มิถุน,กันย์

พฤษภ,ตุลย์,มังกร,กุมภ์

พุธ

สิงห์,ตุลย์,พฤษภ

กรกฏ

เมษ,พิจิก,ธนู,มีน,มังกร,กุมภ์

พฤหัส

สิงห์,กรกฏ,เมษ,พิจิก

พฤษภ,ตุลย์,มิถุน,กันย์

มังกร,กุมภ์

ศุกร์

มิถุน,กันย์,มังกร,กุมภ์

สิงห์,กรกฏ

เมษ,พิจิก,ธนู,มีน

เสาร์

มิถุน,กันย์,พฤษภ,ตุลย์

สิงห์,กรกฏ,เมษ,พิจิก

ธนู,มีน

ราหู

มิถุน,กันย์,ตุลย์,ธนู,มังกร,มีน

เมษ,กรกฏ,สิงห์,กุมภ์

 

เกตุ

มิถุน,ตุลย์,พิจิก,ธนู,มังกร,มีน

เมษ,กรกฏ,สิงห์

 

 

*คัมภีร์โหรารัตนมาลา กล่าวว่า ราหูเป็นเกษตรในราศีกันย์ เป็นอุจน์ในราศีพฤษภ เป็นนิจในราศีพิจิก เกตุ เป็นเกษตรในราศีกุมภ์ เป็นอุจราศีมีน เป็นนิจในราศีกันย์

 

**คัมภีร์อุตรกาลมฤต กล่าวว่า ราหูเป็นเกษตรในราศีกุมภ์ เป็นอุจน์ในราศีพฤษภ เป็นนิจในราศีพิจิก เป็นมูลตรีโกณในราศีมิถุน,เรือนศัตรูคือราศีสิงห์,ราศีมิตรคือ ตุลย์ ,ราศีเป็นกลางคือ เมษ เกตุ เป็นเกษตรในราศีพิจิก เป็นอุจราศีพิจิก เป็นนิจในราศีพฤษภ เป็นมูลตรีโกณในราศีกันย์,เรือนศัตรูคือราศีกรกฏ,ราศีมิตรคือมังกร ,ราศีเป็นกลางคือ ธนูและมีน

อธิบาย เช่น อังคารอยู่ราศีพฤษภ อยู่ราศีเป็นกลางเพราะอังคารเป็นกลางกับศุกร์ ,ดาวพฤหัสอยู่ราศีสิงห์ เป็นราศีมิตร เพราะพฤหัสเป็นมิตรกับอาทิตย์,ดาวศุกร์อยู่กรกฏเป็นราศีศัตรู เพราะศุกร์เป็นศัตรูต่อจันทร์

2.ตาตะตาลิกะ- ดาวคู่มิตรศัตรูแบบชั่วคราว (คำนวนจากดาวเคราะห์เฉพาะชาตา)

 

คู่มิตรชั่วคราว คำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 2,3,4,10,11 และ 12 จากดาวเคราะห์ใด

ก็จะเป็นมิตรชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น


คู่ศัตรูชั่วคราวคำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 1 (ร่วมกัน),7(เล็งกัน),5,9 (ตรีโกณกัน)

และ 6,8 (อริ มรณะต่อกัน) จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นศัตรูชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น

 

3.ปัญจธะ ตารางสรุปผลดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะชาตาจากข้อ 1+2

 

คู่มิตร-ศัตรูถาวรจากธรรมชาติ   

คู่มิตรศัตรูชั่วคราว (จากชาตา)

ผลในดวงชาตา

ก. มิตร

มิตร

เป็นมิตรใหญ่ (อธิมิตร)

ข. มิตร

ศัตรู

เป็นกลาง   (สมะ)

ค. เป็นกลาง

มิตร

เป็นมิตรน้อย (มิตร)

ง. เป็นกลาง

ศัตรู

เป็นศัตรูน้อย  (ศัตรู)

จ. ศัตรู

มิตร

เป็นกลาง    (สมะ)

ฉ. ศัตรู

ศัตรู

เป็นศัตรูใหญ่ (อธิศัตรู)

 

สรุป การหาดาวเคราะห์คู่มิตรศัตรู จากระบบโหราศาสตร์ภารตะ มีความละเอียดและซับซ้อนตามเหตุผลข้างต้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้ในกฏเกณฑ์ข้อนี้ให้มากเพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการวินิจฉัยดวงชาตา หากเราไม่รู้ว่าดาวเคราะห์ใดเป็นมิตรหรือศัตรูกับดาวเคราะห์ใด ก็ไม่มีทางที่จะทำนายดวงชาตาได้ถูกต้องได้เลย

 

 

 

ดวงตัวอย่างในการพิจาณาหาดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะดวงชาตา

ตามกฏเกณฑ์ข้อ 2 ตาตะตาลิกะมิตร-ศัตรู ชั่วคราว

คู่มิตรชั่วคราว คำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 2,3,4,10,11 และ 12 จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นมิตรชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น คู่ศัตรูชั่วคราวคำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 1 (ร่วมกัน),7(เล็งกัน),5,9 (ตรีโกณกัน)และ 6,8 (อริ มรณะต่อกัน) จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นศัตรูชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น จากดวงชาตานี้ได้ผล ตาตะกาลิกะ ดังนี้

 

ดาวเคราะห์ในดวงชาตา

มิตรชั่วคราว (เรือน 2,3,4,10,11,12)

ศัตรูชั่วคราว (เรือน 1,7,5,9,6,8)

อาทิตย์

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ(อินเดีย)

พุธ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส

จันทร์

เกตุ(อินเดีย)อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์

ราหู

อังคาร

จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์

ศุกร์ พฤหัส ราหู

พุธ

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ(อินเดีย)

อาทิตย์ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส

พฤหัส

เกตุ(อินเดีย) จันทร์

เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์  พุธ

ศุกร์

จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ(อินเดีย) เสาร์

อังคาร พฤหัส ราหู

เสาร์

อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์

พฤหัส เกตุ(อินเดีย)

**หมายเหตุ เกตุ(อินเดีย) หรือ South Node  จะอยู่ตรงข้ามกับราหูตลอดเวลา จึงมักไม่ค่อยเขียนลงในแผ่นดวงชาตา แต่ความจริงดาวเกตุ(อินเดีย)ต้องนำมาคำนวณด้วย ซึ่งไม่ใช่เกตุ(๙)แบบไทย

 

เมื่อได้ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรู แบบชั่วคราวเฉพาะชาตา(จากข้อ2)นี้แล้ว เราก็นำมาเฉลี่ยกำลังกับ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูแบบถาวร(จากข้อ1)อีกทีหนึ่ง แล้วหาผลรวม(จากข้อ3)ก็คือ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูที่เป็นเฉพาะแต่ละชาตาอย่างแท้จริง ดังนี้

ก.วิธีหาดาวเคราะห์อธิมิตร มิตรใหญ่ในดวงชาตา (มิตรถาวร+มิตรชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-มิตรถาวร

ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว

ผลเป็นมิตรใหญ่- อธิมิตร

อาทิตย์

อังคาร,จันทร์,พฤหัส

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ

อังคาร จันทร์

จันทร์

อาทิตย์ ,พุธ

เกตุ,อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์

อาทิตย์ พุธ

อังคาร

อาทิตย์, จันทร์, พฤหัส

จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์

อาทิตย์ จันทร์

พุธ

อาทิตย์ ,ศุกร์

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ

ศุกร์

พฤหัส

อาทิตย์, จันทร์,อังคาร

เกตุ,จันทร์

จันทร์

ศุกร์

พุธ, เสาร์

จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์

พุธ เสาร์

เสาร์

พุธ, ศุกร์

อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์

พุธ ศุกร์

 

ข.วิธีหาดาวเคราะห์สามะ เป็นกลางในดวงชาตา (มิตรถาวร+ศัตรูชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-มิตรถาวร

ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว

ผลเป็นสามะ- กลาง

อาทิตย์

อังคาร,จันทร์,พฤหัส

พุธ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส

พฤหัส

จันทร์

อาทิตย์ ,พุธ

ราหู

-

อังคาร

อาทิตย์, จันทร์, พฤหัส

ศุกร์ พฤหัส ราหู

พฤหัส

พุธ

อาทิตย์ ,ศุกร์

อาทิตย์ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส

อาทิตย์

พฤหัส

อาทิตย์, จันทร์,อังคาร

เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์  พุธ

อาทิตย์ อังคาร

ศุกร์

พุธ, เสาร์

อังคาร พฤหัส ราหู

-

เสาร์

พุธ, ศุกร์

พฤหัส เกตุ(อินเดีย)

-

 

ค.วิธีหาดาวเคราะห์มิตร มิตรน้อยในดวงชาตา (กลางถาวร+มิตรชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-เป็นกลางถาวร

ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว

ผลเป็นมิตร- มิตรน้อย

อาทิตย์

พุธ

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ

-

จันทร์

อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์

เกตุ อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์

อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์

อังคาร

ศุกร์ เสาร์

จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์

ศุกร์ เสาร์

พุธ

อังคาร พฤหัส เสาร์

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ

อังคาร เสาร์

พฤหัส

เสาร์

เกตุ จันทร์

-

ศุกร์

อังคาร พฤหัส

จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์

-

เสาร์

พฤหัส

อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์

-

 

ง.วิธีหาดาวเคราะห์ศัตรู ศัตรูน้อยในดวงชาตา (กลางถาวร+ศัตรูชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-เป็นกลางถาวร

ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว

ผลเป็นศัตรู -ศัตรูน้อย

อาทิตย์

พุธ

พุธ เกตุ พฤหัส

พุธ

จันทร์

อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์

ราหู

-

อังคาร

ศุกร์ เสาร์

ศุกร์ พฤหัส ราหู

ศุกร์

พุธ

อังคาร พฤหัส เสาร์

อาทิตย์ เกตุ พฤหัส

พฤหัส

พฤหัส

เสาร์

เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์  พุธ

เสาร์

ศุกร์

อังคาร พฤหัส

อังคาร พฤหัส ราหู

พฤหัส

เสาร์

พฤหัส

พฤหัส เกตุ

พฤหัส

 

จ.วิธีหาดาวเคราะห์สามะ เป็นกลางในดวงชาตา (ศัตรูถาวร+มิตรชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-ศัตรูถาวร

ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว

ผลเป็นสามะ- กลาง

อาทิตย์

ศุกร์ เสาร์

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ

ศุกร์ เสาร์

จันทร์

--

เกตุ อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์

-

อังคาร

พุธ

จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์

พุธ

พุธ

จันทร์

อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ

จันทร์

พฤหัส

พุธ ศุกร์

เกตุ จันทร์

-

ศุกร์

อาทิตย์ จันทร์

จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์

อาทิตย์ จันทร์

เสาร์

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร

อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร

 

ฉ.วิธีหาดาวเคราะห์อธิศัตรู ศัตรูใหญ่ในดวงชาตา (ศัตรูถาวร+ศัตรูชั่วคราว)

ดาวเคราะห์

นิสรคิกะ-ศัตรูถาวร

ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว

ผลเป็นศัตรูใหญ่- อธิศัตรู

อาทิตย์

ศุกร์ เสาร์

พุธ เกตุ  พฤหัส

-

จันทร์

--

ราหู

-

อังคาร

พุธ

ศุกร์ พฤหัส ราหู

-

พุธ

จันทร์

อาทิตย์ เกตุ  พฤหัส

-

พฤหัส

พุธ ศุกร์

เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์  พุธ

พุธ ศุกร์

ศุกร์

อาทิตย์ จันทร์

อังคาร พฤหัส ราหู

-

เสาร์

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร

พฤหัส เกตุ

-

 

 

สรุปผลรวมความสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ในดวงชาตานี้

ดาวเคราะห์

มิตรใหญ่

มิตรน้อย

กลาง

ศัตรูน้อย

ศัตรูใหญ่

อาทิตย์

๒ ๓

-

๕ ๗ ๖

-

จันทร์

๑ ๔

๓    ๕ ๗   ๖

-

-

-

อังคาร

๒ ๑

๖ ๗

๔ ๕

-

-

พุธ

๗ ๓

๑ ๒

-

พฤหัส

-

๑ ๓

๔ ๖

ศุกร์

๔ ๗

-

-

๓ ๕ ๑๒

-

เสาร์

๔ ๖

-

๓ ๑ ๒

-

**ส่วนราหูและเกตุ เราจะใช้ระบบ คู่-มิตรศัตรูแบบชั่วคราวมาใช้แทน เนื่องจากไม่มีคู่มิตรศัตรูแบบถาวร ตามธรรมชาติ

สรุปจากดวงชาตานี้จะเห็นได้ว่า การเป็นคู่มิตรคู่ศัครูแบบภารตะกับโหราศาสตร์ไทยนั้นแตกต่างกันมากมาย ดังจะเห็นว่าดาวเสาร์ กับอังคาร ในดวงชาตานี้ อังคารก็จะเป็นมิตร(น้อย) ต่อเสาร์ และดาวเสาร์ก็จะเป็นกลางต่ออังคาร ดังนั้นเมื่อดาวสองดวงโคจรมาต้องกัน มาเสวยอายุ (ตามระบบวิมโษตรีทักษาและทักษาระบบอื่นๆในโหราศาสตร์ภารตะ) การสถิตย์อยู่ในดวงเดิมดวงจร ก็จะไม่มีปัญหาต่อกันเท่าใดนัก  ไม่เหมือนกับความเชื่อแบบดั้งเดิม ที่เสาร์และอังคารเป็นศัตรูตัวฉกาจต่อกัน แต่ในกรณีนี้กลับมิใช่  และดาวอื่นๆอีกเช่นกัน บางครั้งดาวดวงหนึ่งเป็นศัตรูต่อดาวดวงหนึ่ง แต่ในทางกลับกันดาวดวงนั้นก็อาจจะเป็นมิตรกับดาวที่เป็นศัตรูต่อตนก็เป็นได้ การพิจารณาผลของการเป็นมิตร-ศัตรูนั้นเราจะพิจารณาได้จาก “อวัสถา”ของดาวเคราะห์

 

อวัสถาของดาวเคราะห์

 

อวัสถาหรือตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้มีหลายระบบและหลายวิธีคำนวน แต่วิธีที่ใช้พิจารณาทั่วไปในการวินิจฉัยผลของดาวเคราะห์ที่เสวยอายุในทศาระบบที่เกี่ยวข้องกับดาวคู่มิตร-ศัตรูและสถานะจากที่สถิตย์ของดาวเคราะห์ มี  9 อวัสถาดังนี้คือ

 

1.ทีปถา-แสงโชติช่วง ถ้าดาวเคราะห์เป็นอุจน์

 

2.สติมิตตา-สะดวกสบาย รู้สึกยินดีพอใจ-ถ้าอยู่ในเรือนตนเอง(เกษตร)

 

3.มุทิตา-มีความสุข,สุขสบาย-ถ้าอยู่ในเรือนมิตรใหญ่

 

4.สงบเงียบ-ถ้าอยู่ในเรือนมิตร

 

5.หีนนะ-ขาดแคลน ,บกพร่อง-ถ้าอยู่ในเรือนเป็นกลาง

 

6.ทุกขตา-ผิดหวัง,หดหู่ใจ-ถ้าอยู่ในเรือนศัตรู

 

7.วิกาละ-ล้มเหลว-ถ้าอยู่ร่วมกับปาปเคราะห์

 

8.กาหาละ-ต่ำต้อย-ถ้าแพ้เคราะห์ยุทธ

 

9.โกปะ-เป็นโทษเพราะเป็นคราสเพราะรัศมีอาทิตย์ (อัสตะ)