หมวด: โหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ)-ความรู้พื้นฐาน
จำนวนผู้อ่าน: 8891

2010-03-16โษฑศวรรค คือ การแบ่งราศี ( 30° ) หนึ่งๆ ออกเป็น 16 แบบ

โษฑศวรรค 1-8

โษฑศวรรค 9-14

โษฑศวรรค 15-16

โษฑศวรรค คือ การแบ่งราศี ( 30° ) หนึ่งๆ ออกเป็น 16 แบบ ซึ่งทางไทยจะนิยมใช้เพียง 3 แบบ คือ ราศี ( ดาวเกษตร ) , ตรียางค์ , นวางค์ ( ฤกษ์ 108 บาทฤกษ์ ) ซึ่งตามนี้จะแบ่งให้เห็นมากกว่า โดยจะแบ่งเป็น 16 แบบ ( ตามความจริงมีการแบ่งที่มากกว่านี้ แต่จะนำมาแค่พอประมาณ )

โษฑศวรรคนี้จะมีการแบ่งออกเป็น 16 ส่วนดังนี้ (01) ราศี หรือ อุตตมางศะ , (02) โหรา , (03) ตรียางค์ หรือ ทาเรกะณะ) , (04) ปาทางศะ หรือ จตุรฐางศะ , (05) ปัญจมางศะ หรือ ปัญจางศะ , (06) ษัษฏางศะ หรือ ษัฑตางศะ , (07) สัปตางศะ หรือ สัปฏางศะ , (08) อัษตางศะ หรือ อัษฏางศะ , (09) นวางค์ หรือ นวางศะ , (10) ทศางศะ , (11) เอกาทศางศะ , (12) ทวาทศศางศะ , (13) ตฤมศางศะ หรือ ตริมศางศะ , (14) โษทศางศะ , (15) ษัษฏิอางศะ , (16) ฆฑิกางศะ

(01) เจ้าราศี หรือ อุตตมางศะ จะให้ดาวเข้าครอบครองเป็นดาวเกษตร ( เจ้าอธิปติ ) และ ควบคุมราศีต่างตลอด 00°-30° ในแต่ละราศี

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

๗,๘

(02) โหรา จะแบ่งราศีออกเป็นราศีละ 2 ส่วนๆ ละ 15° แบ่งเป็น 2 วรรคคือ 00°-15° และ 15°-30° โดยจะให้พระอาทิตย์ ( ๑ ) และ พระจันทร์ ( ๒ ) เข้าครอบครองเป็นเจ้าโหราในแต่ละวรรค ตามราศีเพศชาย ( คี่ ) โดยให้ครึ่งแรกของราศีเพศชายปกครองโดยพระอาทิตย์ ส่วนครึ่งหลังปกครองโดยพระจันทร์ และ ราศีเพศหญิง ( คู่ ) โดยให้ครึ่งแรกของราศีเพศหญิงปกครองโดยพระจันทร์ ส่วนครึ่งหลังปกครองโดยพระอาทิตย์

ครึ่ง

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

แรก

หลัง

(03) ตรียางค์ หรือ ทาเรกะณะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 3 ส่วนๆ ละ 10° โดยเรียก 00°-10° ที่หนึ่งว่า ปฐมตรียางค์ , 10°-20° ที่สองว่า ทุติยตรียางค์ และ 20°-30° ที่สามว่า ตติยตรียางค์ โดยให้ดาวเกษตรในราศีนั้นๆ เป็นเจ้าปฐมตรียางค์ , นับจากราศีแรกไป 5 ราศีให้เจ้าเกษตรราศีที่ 05 นั้นเป็นเจ้าทุติยตรียางค์ และ นับจากราศีแรกไป 9 ราศีให้เจ้าเกษตรราศีที่ 09 นั้นเป็นเจ้าตติยตรียางค์ (จะเป็นรูปราศีตรีโกณ (ธาตุ) คือ 01 , 05 , 09 )

ส่วน

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

ปฐม

๗,๘

ทุติย

๗,๘

ตติย

๗,๘

(04) ปาทางศะ หรือ จตุรฐางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 07 องศา 30 ลิปดา โดยจัดเรียงดาวเกษตรเข้าครอบครองตามราศีจตุรเกณฑ์ คือ นับจากราศีนั้นไปเป็น 01 , 04 , 07 , 10 แล้วเอาดาวเจ้าเกษตรทั้ง 4 มาเรียงเข้าตามลับดับเป็นเจ้าปาทางศะ ที่ 1 , ที่ 2 , ที่ 3 และ ที่ 4

ดาวตนุลัคน์ , ตนุจันทร์ , อาตมการกะ ( ดาวที่มีองศาสูงสุดในดวงชะตา ) เข้าไปสถิตในปาทางศะราศีคู่มิตร , คู่ธาตุ หรือ ศุภวรรคปาทางศะ ดาวนั้นจะแสดงผลไปในทางที่ดี รุ่งเรืองไพบูลย์

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

07.30

๗,๘

15.00

๗,๘

22.30

๗,๘

30.00

๗,๘

(05) ปัญจมางศะ หรือ ปัญจางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 5 ส่วนๆ ละ 06° โดยให้ดาวครอบครองตามกฎดังนี้

- ราศีเพศชาย ( คี่ ) ให้ดาวเกษตรเข้าครอบครองดังนี้ ๓ , ๗ , ๕ , ๔ , ๖

- ราศีเพศหญิง ( คู่ )ให้ดาวเกษตรเข้าครอบครองดังนี้ ๖ , ๔ , ๕ , ๗ , ๖

ดาวตนุลัคน์ , ตนุจันทร์ , อาตมการกะ ( ดาวที่มีองศาสูงสุดในดวงชะตา ) เข้าไปสถิตในราศีคู่มิตร , คู่ธาตุ หรือ ศุภวรรค ดาวนั้นจะแสดงผลไปในทางที่ดี นำความรุ่งเรืองมาให้ , นำความสุขทางครอบครัวมาให้ , มีความรู้สติปัญญาดี , สร้างฐานะและความสำเร็จด้วยดี

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

06

12

18

24

30

(06) ษัษฏางศะ หรือ ษัฑตางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 6 ส่วนๆ ละ 05° โดยมีกฎให้ดาวเข้าครอบครองตามระบบ ประกรุติจักร ( 00° ของราศีเมษ - 30° ของราศีกันย์ ) และ วิกรุติจักร ( 00° ของราศีตุลย์ - 30° ของราศีมีน ) โดยให้ดาวเข้าครอบครองดังนี้

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

05

10

15

20

25

30

(07) สัปตางศะ หรือ สัปฏางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 7 ส่วนๆ ละ 04 องศา 17 ลิปดา 08 พิลิปดา ( โดยประมาณ )โดยมีกฎว่า

- ในราศีเพศชาย ( คี่ ) ให้เริ่มจากเรือนเกษตรตัวเอง แล้วไล่ไป 7 ราศีตามลำดับ

- ในราศีเพศหญิง ( คู่ ) ให้เริ่มจากเรือนที่ 07 จากเรือนของตัวเอง แล้วไล่ไป 7 ราศีตามลำดับ


เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

04°.17.08

08°.34.17

12°.51.25

17°.08.34

21°.25.42

25°.42.51

30°

(08) อัษตางศะ หรือ อัษฏางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 8 ส่วนๆ ละ 03 องศา 45 ลิปดา โดยมีกฎให้ดาวครอบครองตาม จรราศี , สถิรราศี และ อุภยราศี ดังนี้

- จรราศี ( เมษ , กรกฏ , ตุลย์ , มกร ) ให้ดาวเข้าครอบครองไล่ไป คือ ๓ , ๖ , ๔ , ๒ , ๑ , ๔ , ๖ , ๓

- สถิรราศี ( พฤษภ , สิงห์ , พิจิก , กุมภ์ ) ให้ดาวเข้าครอบครองไล่ไป คือ ๕ , ๗ , ๗ , ๕ , ๓ , ๖ , ๔ ,

- อุภยราศี ( เมถุน , กันย์ , ธนู , มีน ) ให้ดาวเข้าครอบครองไล่ไป คือ ๑ , ๔ , ๖ , ๓ , ๕ , ๗ , ๗ , ๕

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

03.45

07.30

11.15

15.00

18.45

22.30

26.15

30.00

(09) นวางค์ หรือ นวางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็นราศีละ 9 ส่วนๆ ละ 3° 20ลิปดา โดยมีกฎว่าให้แบ่งตามธาตุของราศี คือ ธาตุไฟ , ธาตุน้ำ , ธาตุลม และ ธาตุดิน โดยเอาราศีแม่ธาตุ ( จรราศี ) เป็นหลักในการเริ่มนับดาวเจ้านวางค์ แล้วไล่ไปตามราศีถัดไปจนครบ 9 ราศี

- ราศีธาตุไฟ ( เมษ , สิงห์ , ธนู )

- ราศีธาตุน้ำ ( กรกฎ , พิจิก , มีน )

- ราศีธาตุลม ( ตุลย์ , กุมภ์ , เมถุน )

- ราศีธาตุดิน ( มกร , พฤษภ , กันย์ )

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

03.20

06.40

๗,๘

๗,๘

๗,๘

10.00

13.20

16.40

๗,๘

๗,๘

๗,๘

20.00

23.20

26.40

๗,๘

๗,๘

๗,๘

30.00

(10) ทศางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 10 ส่วนๆ ละ 3° โดยให้เริ่มนับที่ดาวเกษตร ของราศีที่ 11 , 12 , 01 , 02 , 03 , 04 , 05 , 06 , 07 , 08 จากราศีที่ต้องการนับ จะได้ดังนี้

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

03

๗,๘

06

๗,๘

09

๗,๘

12

๗,๘

15

๗,๘

18

๗,๘

21

๗,๘

24

๗,๘

27

๗,๘

30

๗,๘

(11) เอกาทศางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 11 ส่วนๆ ละ 2 ; 8/11 องศา โดยให้เริ่มนับจากดาวเกษตร ของราศีที่ 12 , 01 , 02 , 03 , 04 , 05 , 06 , 07 , 08 , 09 , 10 จากราศีที่ต้องการนับ จะได้ดังนี้

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

(12) ทวาทศศางศะ คือการแบ่งราศีออกเป็น 12 ส่วนๆ ละ 2.30 องศา โดยนับเอาดาวเกษตรจากราศีที่ต้องการนับ แล้วไล่ดาวเกษตรไปจนครบ 12 ราศี

องศา

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

02.30

๗,๘

05.00

๗,๘

07.30

๗,๘

10.00

๗,๘

12.30

๗,๘

15.00

๗,๘

17.30

๗,๘

20.00

๗,๘

22.30

๗,๘

25.00

๗,๘

27.30

๗,๘

30.00

๗,๘

(13) ตฤมศางศะ คือ การแบ่งราศีออกเป็น 30 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะให้ดาวเข้าครอบครองอาณาเขตไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าเป็นราศีเพศชาย ( คี่ ) หรือ ราศีเพศหญิง ( คู่ ) และใช้ดาวครอบครองเป็นเจ้าการเพียง 5 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์อันมองเห็นด้วยตาเปล่า คือ ๓ , ๔ , ๕ , ๖ และ ๗ มีอาณาเขตครอบครองต่างกันคือดังนี้

- ราศีเพศชาย ( คี่ ) ได้แก่ราศี เมษ , เมถุน , สิงห์ , ตุลย์ , ธนู และ กุมภ์ มีดาวครอบครอง และ ระยะองศาดังนี้

ระยะองศาที่

เมษ

เมถุน

สิงห์

ตุลย์

ธนู

กุมภ์

00° - 05° = 5°

05° - 10° = 5°

10° - 18° = 8°

18° - 25° = 7°

25° - 30° = 5°

- ราศีเพศหญิง ( คู่ ) ได้แก่ราศี พฤษภ , กรกฎ , กันย์ , พิจิก , มกร และ มีน มีดาวครอบครอง และ ระยะองศาดังนี้

ระยะองศาที่

พฤษภ

กรกฎ

กันย์

พิจิก

มกร

มีน

00° - 05° = 5°

05° - 12° = 7°

12° - 20° = 8°

20° - 25° = 5°

25° - 30° = 5°

(14) โษทศางศะ คือ การแบ่งราศีออกเป็น 16 ส่วนๆ ละ 01 องศา 25 ลิปดา 30 พิลิปดา โดยให้ดาวครอบครองจากราศีที่จะนับ แล้วไล่เรียงไปจนครอบ 12 ราศี เมื่อครบ 12 ราศีแล้วจะเห็นว่าเหลืออีก 4 วรรค คือวรรคที่ 13 – 16 ให้แบ่งดาวเข้าครอบครองในวรรคทั้ง 4 ดังนี้

- วรรคที่ 13 – 16 ในราศีเพศชาย เจ้าวรรค ๗ , ๔ , ๓ , ๑

- วรรคที่ 13 – 16 ในราศีเพศหญิง เจ้าวรรค ๑ , ๓ , ๔ , ๗

วรรคที่ 01 – 05 เรียกว่า อารัมภะ ( ช่วงต้น ) , วรรคที่ 06 – 10 เรียกว่า มัธยะ ( ช่วงกลาง ) , วรรคที่ 11 – 15 เรียกว่า วิรามะ ( ช่วงปลาย ) และ วรรคที่ 16 เรียกว่า ภวะริกตะวรรค แสดงถึง อดีต , ปัจจุบัน , อนาคต และ ความล้มเหลว ( ริกตะสุทธิ )

ตนุลัคน์ , ตนุจันทร์ , อาตมการกะ สถิตวรรคใดองศา ต้น , กลาง , ปลาย ของราศีวรรค จะแสดง ดี – ร้าย , ต้น – กลาง – ปลาย ของอายุ ( อายุแบ่งออกเป็นช่วงละ 25 ปี รวม 3 ช่วง = 75 ปี ) เกิน 75 ปีไปแล้ว เรียกว่าเป็นวัยริกตะ ( วัยตาย วัยแห่งความชราภาพมาก วัยพิการทุพพลภาพ )

เมษ

พฤษภ

เมถุน

กรกฎ

สิงห์

กันย์

ตุลย์

พิจิก

ธนู

มกร

กุมภ์

มีน

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

๗,๘

(15) ษัษฏิอางศะ คือแบ่งราศีออกเป็น 60 ส่วนๆละ 30 ลิปดา โดยราศีเพศชาย ( คี่ ) จะเริ่มนับษัษฏิอางศะที่ 01 – 60 ตามลำดับ ส่วนราศีเพศหญิง ( คู่ ) จะนับย้อนษัษฏิอางศะจากที่ 60 – 01 โดยราศีเพศหญิงจะนับษัษฏิอางศะที่ 60 เป็น 01 , ที่ 59 เป็น 02 ไล่ย้อนกลับไป

ตนุลัคน์ , ตนุจันทร์ , อาตมการกะ เสวยวรรคใดๆ หนึ่งในษัษฏิอางศะ และ เสวยภาคใดเช่น อารัมภะ , มัธยะ , วิรามะ โดยแยกแต่ละภาคไว้ภาคละ 20 ปี เหตุการณ์จะเกิดจังหวะภาคใดขึ้นอยู่กับอายุของเจ้าชะตา หากพ้นเขตอายุภาคไปแล้วเหตุการณ์ ดี-ร้าย ก็จะไม่ปรากฏขึ้น

อารัมภะ ( 00 ปี – 20 ปี )

คี่ / ลำดับที่

คี่ / องศาที่

คู่ / ลำดับที่

คู่ / องศาที่

ชื่อเรียก

ในคัมภีร์

ที่แตกต่างกัน

01

00.00-00.30

60

29.30-30.00

โฆรำศะ , โฆร

02

00.30-01.00

59

29.00-29.30

รากษศำศะ , รากษส

03

01.00-01.30

58

28.30-29.00

เทวำศะ , เทวภาค

04

01.30-02.00

57

28.00-28.30

กุเพรำศะ , อุพิร์

05

01.30-02.30

56

27.30-28.00

รักโษคณะ

06

02.30-03.00

55

27.00-27.30

กินนะรำศะ , กินนร

07

03.00-03.30

54

26.30-27.00

ภรัษฏำศะ , หรุสตะ

08

03.30-04.00

53

26.00-26.30

กุละฆะนำศะ , กาลาคนานะ

09

04.00-04.30

52

25.30-26.00

คะระลำศะ , คะระละ

10

04.30-05.00

51

25.00-25.30

อัคนิฆตะ

11

05.00-05.30

50

24.30-25.00

มะยำศะ , มายางศ

12

05.30-06.00

49

24.00-24.30

ปเรตะปุรีศำศะ , เปรตะปุริหะ

13

06.00-06.30

48

23.30-24.00

อะปำปะติยำศะ , อะปะมะปตัย

14

06.30-07.00

47

23.00-23.30

เทวะคะเณศำศะ , เทวคณาสะ

15

07.00-07.30

46

22.30-23.00

กาลำศะ , กาลา

16

07.30-08.00

45

22.00-22.30

สะระปำศะ , ศารปะ

17

08.00-08.30

44

21.30-22.00

อะมะฤตำศะ , อมฤต

18

08.30-09.00

43

21.00-21.30

จันทรำศะ , จันทร

19

09.00-09.30

42

20.30-21.00

มฤทวำศะ , มฤทวางศ

20

09.30-10.00

41

20.00-20.30

โกมะลำศะ , โกมลางศ

มัธยะ ( 20 ปี – 40 ปี )

คี่ /ลำดับที่

คี่ / องศาที่

คู่ /ลำดับที่

คู่ / องศาที่

ชื่อเรียก

ในคัมภีร์

ที่แตกต่างกัน

21

10.00-10.30

40

19.30-20.00

ปัทมะภานะวำศะ , ปัทมะ

22

10.30-11.00

39

19.00-19.30

วิษณุอำศะ , ลักษมีศ

23

11.00-11.30

38

18.30-19.00

ภรหะมำศะ , วาคีศ

24

11.30-12.00

37

18.00-18.30

มเหศวะรำศะ , ทิฆัมพร

25

12.00-12.30

36

17.30-18.00

เทวำศะ , เทวางศ

26

12.30-13.00

35

17.00-17.30

อรรทรำศะ , อินทร

27

13.00-13.30

34

16.30-17.00

กลินาศำศะ , กาลินาศ

28

13.30-14.00

33

16.00-16.30

กษีติศวรำศะ , กษิติศวระ

29

14.00-14.30

32

15.30-16.00

กะมะลากรำศะ , กมลากร

30

14.30-15.00

31

15.00-15.30

คุลิกำศะ , มัณฑตมะชะ

31

15.00-15.30

30

14.30-15.00

มฤตยุกะรำศะ , มฤตยู

32

15.30-16.00

29

14.00-14.30

กาลำศะ , กาลา

33

16.00-16.30

28

13.30-14.00

ทาวาคณิอำศะ , เทวคนิยา

34

16.30-17.00

27

13.00-13.30

โฆรำศะ , โจรา

35

17.00-17.30

26

12.30-13.00

ยะมำศะ , ยมกันตกะ

36

17.30-18.00

25

12.00-12.30

กัณฏะกำศะ , สัตยา

37

18.00-18.30

24

11.30-12.00

สุธาศำศะ , อมฤต

38

18.30-19.00

23

11.00-11.30

อมฤตำศะ , ปริปูรณะ

39

19.00-19.30

22

10.30-11.00

วิษประคธาศำศะ , วิษประทคธา

40

19.30-20.00

21

10.00-10.30

วิษกุละนาศะ , กุละนาศ

วิรามะ ( 40 ปี – 60 ปี )

คี่ /ลำดับที่

คี่ / องศาที่

คู่ /ลำดับที่

คู่ / องศาที่

ชื่อเรียก

ในคัมภีร์

ที่แตกต่างกัน

41

20.00-20.30

20

09.30-10.00

มขยะศำศะ , มุขยะ

42

20.30-21.00

19

09.00-09.30

วำศะกัษยำศะ , วามศักษยะ

43

21.00-21.30

18

08.30-09.00

อุตบาตกำศะ , อุปาตต์

44

21.30-22.00

17

08.00-08.30

กาลำศะ , กาลารุปะ

45

22.00-22.30

16

07.30-08.00

เสามยำศะ , เสามยะ

46

22.30-23.00

15

07.00-07.30

มฤทวำศะ , มรุทวางศ

47

23.00-23.30

14

06.30-07.00

ศีตะลำศะ , ศุษิฏละ

48

23.30-24.00

13

06.00-06.30

ทัมสตระลำศะ , ทัมสตระ

49

24.00-24.30

12

05.30-06.00

อินทุมุขำศะ , สีตาพชะ

50

24.30-25.00

11

05.00-05.30

ปรวิณำศะ , อินทุมุข

51

25.00-25.30

10

04.30-05.00

กาลาคนิอำศะ , ปูระณะ

52

25.30-26.00

09

04.00-04.30

ทัณฑายุธำศะ , กาลาคนิย

53

26.00-26.30

08

03.30-04.00

นิรมะลำศะ , ทัณฑายุธ

54

26.30-27.00

07

03.00-03.30

ศุภะกะรำศะ , นิรมล

55

27.00-27.30

06

02.30-03.00

กะรุรำศะ , ษุพะ

56

27.30-28.00

05

02.00-02.30

ศีตะลำศะ , อษุพะ

57

28.00-28.30

04

01.30-02.00

สุธำศะ , อติษุพะ

58

28.30-29.00

03

01.00-01.30

ปะโยธะยำศะ , สุธาปโยติ

59

29.00-29.30

02

00.30-01.00

ภรหมนำศะ , ธยุมณิ

60

29.30-30.00

01

00.00-00.30

อินทรุเรขำศะ , อินทุเรขา

หมายเหตุ ชื่อเรียกใน 2 ตำรานั้นจะแตกต่างกันบ้าง บางตำแหน่งก็สลับที่กัน และ บางตำแหน่งก็เรียกเหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงนำมาเปรียบเทียบให้ดูเพื่อการค้นคว้าถึงที่มา และ ข้อยุติกันต่อไป

(16) ฆฑิกางศะ คือ ราศีหนึ่งแบ่งออกเป็น 150 ฆฑิกางศะ และ 1 ฆฑิกางศะยังแบ่งออกอีกเป็น 2 ส่วน รวมเป็นทั้งหมด 300 ส่วน ( 1 ฆฑิกางศะ = 6 พิลิปดา ) จรราศี , สถิรราศี , อุภยราศี เป็นหลักในการแบ่ง และ การใช้ชื่อในฆฑิกางศะ แต่เนื่องจากฆฑิกางศะนั้นไม่ค่อยจำเป็นในการนำมาใช้เท่าใดนัก จึงไม่จำเป็นต้องเอามาศึกษา เนื่องด้วยมีชื่อเป็นจำนวนมาก จึงให้ข้ามไป

จบบริบูรณ์