หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
จำนวนผู้อ่าน: 1366

ganesh hindu gods temple india

โศลกที่ ๕๗

 

หมายเหตุ

               เรื่องตำแหน่งมฤตยูองศาของพระจันทร์นี้ ในบางคัมภีร์มีผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่เท่าที่ใช้กันในส่วนมากใช้ตามคัมภีร์ที่เป็นหลัก คำว่ามุหูรตตะที่กล่าวในที่นี้ หมายความว่าเวลา ๒ ฆะฏิกะ หรือ ๒ มหานาที คือ เท่ากับ ๔๘ นาทีในสมัยนี้ ถ้าเราคิดมัธยมจันทร์ใน ๑ วัน เท่ากับ ๑๒ องศาใน ๔๘ นาทีพระจันทร์จะโคจรไปได้ ๒๔ ลิบดา เพราะฉะนั้นในระยะที่พระจันทร์โคจร ๒๔ ลิบตา หรือคิดเป็นเวลา ๔๘ นาทีนี้ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับมฤตยูองศาของจันทร์มาก คือในเวลาเกิดของผู้ใดสมมุติว่าพระจันทร์สถิตราศีเมษ ๘ องศาพอดี ตำแหน่งของพระจันทร์นั้นเป็นมฤตยูองศาในชะตา แต่โดยมากสมผุสพระจันทร์จะมีเศษไม่ค่อยพอดี เขาจึงถือเศษของมุหูรตะเป็นมาตรฐาน คือถือเอาว่าขาดหรือเกินจำนวน ๘ องศาไป ๔๘ นาที หรือประมาณ ๒๔ ลิบตาก็ถือว่ายังเป็นตำแหน่งมรณะอยู่ ฉะนั้นสำหรับราศีเมษถ้าสมผุสพระจันทร์ตั้งแต่ ๗ องศา ๓๖ ลิบดา ถึง ๘ องศา ๒๔ ลิบดา ก็นับเป็นมรณะองศาทั้งสิ้น อนึ่งในจำนวน ๔๘ นาทีหรือหนึ่งมุหูรตะนี้ การคิดเป็นองศาลิบตาของพระจันทร์ย่อมไม่แน่นอนเสมอไป เพราะพระจันทร์โคจรไม่เท่ากันทุก ๆ วัน ฉะนั้นก่อนจะคิดมฤตยูองศาที่แท้จริงในวันใด ต้องรู้มัธยมจันทร์ในวันนั้นโดยถูกต้องเสียก่อน

โศลกที่ ๕๘

โศลกที่ ๕๙ – ๖๐

โศลกที่ ๖๑

****************************************************************************************