หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
จำนวนผู้อ่าน: 1713

shiva hindu god india

โศลกที่ ๔๔

โศลกที่ ๔๕ – ๔๖

หมายเหตุ

               ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีถ้าอยู่ราศีธนู ๑ องศา ๒๕ ลิบดา ๑ ฟิลิบดา ตำแหน่งของพฤหัสบดีจะเป็นเทวะโลกะ เพราะเป็นมูลตรีโกณ และในส่วนวรรคต่าง ๆ เป็นวรรคที่ครองด้วยพฤหัสบดีทั้งสิ้น คือ ตรียางค์ สัปดำศะ นวางศ์ ทศมำศะ ทวาทะศำศะ และกาลำศะ

 

โศลกที่ ๔๖ – ๔๘

โศลกที่ ๔๙

โศลกที่ ๕๐

โศลกที่ ๕๑

โศลกที่ ๕๒

โศลกที่ ๕๓ – ๕๔

ภพที่   ๑ – ๔ – ๗ – ๑๐    เรียกว่า เกนทระ

ภพที่   ๒ – ๕ – ๘ – ๑๑    เรียกว่า ปะณะผะระ

ภพที่   ๓ – ๖ – ๙ – ๑๒    เรียกว่า อาโปกลิมะ

ภพที่   ๔ – ๘                     เรียกว่า จตุระสร

ทั้งนี้ท่านว่าเป็นภพต่าง ๆ ที่นับจากตำแหน่งของลัคนาทั้งสิ้น ฯ

โศลกที่ ๕๕

โศลกที่ ๕๖

 

หมายเหตุ

               ในการแบ่งความสั้นยาวของราศีได้เคยกล่าวไว้ในโศลกที่ ๑๓ แล้ว ท่านจะเห็นได้ว่าถ้าเอาจำนวนเลขทั้ง ๑๒ ราศีที่กล่าวในโศลกนี้รวมกันก็จะได้จำนวน ๓๖๐ พอดี เพราะฉะนั้นก็เท่ากับจำนวนองศาทั้งหมดใน ๑๒ ราศีด้วย จากอันนี้เป็นการยืนยันอีกประการหนึ่งว่าการดูความกว้างยาวของราศีต่าง ๆ นั้น คิดเอาจากภาพราศีที่มองเห็นจากที่ ๆ เขาเฝ้าดูอยู่ ฉะนั้น ถ้าเปลี่ยนที่ดูจำนวนความกว้างยาวของราศีต่าง ๆ หรือจำนวนอันโตนาฑีก็อาจผิดกันไปได้

               ในการใช้มาตราเวลาของอินเดียโบราณมีคำหนึ่งซึ่งเรียกตามชื่อของเขาว่า วิฆะฎิกะ คือเมื่อเทียบเวลากับปัจจุบันแล้ว หนึ่งวิฆะฏิกะจะเท่ากับ ๒๔ วินาทีพอดี

               ในการที่โลกหมุนรอบตัว ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ วัน หรือ ๒๔ ชั่วโมง ราศีต่าง ๆ ในท้องฟ้าถ้าเราเฝ้าดูอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งก็จะหมุนได้ ๑ รอบ หรือ ๑๒ ราศีพอดีเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดเฉลี่ยอย่างหยาบ ๆ โดยเอาหลัก ๓๖๐ องศา เท่ากับ ๒๔ ชั่วโมง ในจำนวน ๑ องศาจะได้เท่ากับ ๔ นาทีพอดี จำนวนนี้เราจะเรียกว่ามัธยมลัคนาก็ได้ คือคิดเฉลี่ยลัคนาโคจร ๔ นาที ต่อ ๑ องศา

               ในราศีเมษกำหนดความกว้างไว้ ๒๐ องศา คิดเป็นเวลาลัคนาเท่ากับ ๘๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ถ้าคิดเป็นมาตราอินเดียโบราณจะเท่ากับ ๒๐๐ วิฆะฏิกะพอดี เพราะมัธยมลัคนาใน ๑ องศาเท่ากับ ๔ นาที หรือ ๒๔๐ วินาที ซึ่งจำนวนนี้จะเท่ากับ ๑๐ วิฆะฏิกะพอดี ดังนั้น ๒๐ องศาจึงเท่ากับ ๒๐๐ วิฆะฏิกะ และถ้าเอา ๑๐ คูณทุก ๆ ราศีในโลศกนี้ก็จะได้จำนวนอันโตนาทีของราศีนั้น ๆ ทันที แต่อันโดนาทีที่ได้นี้เป็นอันโดนาทีของเฉพาะท้องถิ่นที่เขาเขียนตำรานี้ เราจะเอามาใช้โดยปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ เพราะเราทราบแล้วว่าเมื่อเปลี่ยนที่เหนือหรือใต้ เส้นศูนย์สูตรของโลกไปเพียงเล็กน้อย เราจะมองเห็นความกว้างของราศีต่าง ๆ เปลี่ยนไปด้วย อันโตนาทีของราศีต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนตามกันไปหมด

               ในโศลกที่ ๑๓ ได้กล่าวว่าราศีสั้นได้แก่ เมษ พฤษภ และกุมภ์ ซึ่งมีจำนวนองศาตามโศลกนี้คือ ๒๐ – ๒๔ และ ๒๕ ตามลำดับ ที่จริงควรจะจักราศีมีนเข้าไว้ในจำพวกราศีสั้นอีกด้วย เพราะตามโลกศกนี้บอกว่าราศีมีนกว้างเพียง ๒๐ องศาเท่านั้น สำหรับราศีอื่น ๆ เมื่อเอาสูตรของโศลกนี้ไปเทียบนับว่าใช้ได้ทุกต้องกันหมดทุกราศี ข้าพเจ้าจึงขอฝากความคิดเห็นไว้ ณ ที่นั้นด้วย ฯ