หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
จำนวนผู้อ่าน: 1456

UMA Devi

โศลกที่ ๓๒-๓๓

               ในระบบที่แบ่งหนึ่งราศีออกเป็น ๔ ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนเรียกว่า นะวำศะ หรือนวางศ์นี้สำคัญที่สุด การจัดพระเคราะห์ต่างๆ เข้าครองนวางศ์มีกฎเกณฑ์ดังนี้โดยใช้หลักของตรีโกณ ตรีโกณจากราศีเมษ คือ เมษ สิงห์ และธนู นวางศ์ที่ ๑ ของราศีเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยเมษแล้วไปสิ้นสุดที่ธนู ใช้พระเคราะห์ที่ครองในราศีเกษตร์ครองตามลำดับ ตรีโกณจากราศีกรกฏ คือกรกฏ พิจิก และมีน นวางศ์ที่ ๑ ของราศีเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยกรกฏแล้วเรียงกันไปตามลำดับราศี ตรีโกณจากราศีตุลย์ คือตุลย์ กุมภ์ และเมถุน นวางศ์ที่ ๑ ของนาศีเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยตุลย์ ตรีโกณจากราศีมังกร คือมังกร พฤศภ และกันย์ นวางศ์ที่ ๑ ของราศีเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยมังกรทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่นราศีเมษ นวางศ์ ๑ และต่อๆ ไปครองด้วย อังคาร ศุกร์ พุธ จันทร์ อาทิตย์ พุธ  ศุกร์ อังคาร และพฤหัสบดีเป็นต้นไป ฯ

โศลกที่ ๓๔  

                 ในราศีทุก ๆ ราศีที่แบ่งและจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองตามระบบของนะวำศะจะเห็นได้ว่าในทุก ๆ ราศีซึ่งมี ๙ นวางศ์นั้น จะมีอยู่นวางศ์หนึ่งซึ่งมีชื่อตรงกับราศีนั้นเอง นวางศ์ของราศีใดที่มีชื่อและดาวพระเคราห์ที่เข้าครองซ้ำกับราศีนั้นเราเรียกว่า วรโคตตะมะนวางศ์ หรือวรโคตมนวางศ์ นวางศ์นี้นับเป็นนวางศ์ที่ให้คุณที่สุดแก่เจ้าชาตา เพื่อการคิดหานวางศ์นี้ให้ง่ายเข้าท่านวางกฏเกณฑ์ไว้ว่า วรโคตมนวางศ์คือนวางศ์ที่ ๑ ในจรราศี นวางส์ที่ ๕ หรือนวางศ์กลางของสถิระราศี และนวางศ์สุดท้ายของทวิสวะภาวะราศี ฯ

หมายเหตุ

               จรราศีได้แก่ราศีทวารทั้ง ๔ คือ เมษ กรกฏ ตุลย์ และมังกร นวางศ์แรกของราศีเหล่านี้เป็นนวางศ์ซ้ำกับราศีเดิม ที่เรียกว่า วรโคตมนวางศ์  สถิระราศี คือ ราศี พฤศภ สิงห์ พจิก และกุมภ์ นวางศ์ที่ ๕ ของราศีเหล่านี้เป็นวรโคตมนวางศ์ ทวิสะภาวะราศี คือ เมถุนร กันย์ ธนู และมิน นวางศ์สุดท้าย ของราศีเหล่านี้เป็น วรโคตมนวางศ์ ในวงการโหรทางภารตะทั่วไปมีความเห็นตรงกันว่า ดาวพระเคราะห์ใดๆ รวมทั้งลัคนาถ้าได้ตำแหน่งวรโคตมนวางศ์แล้ว จะมีกำลังเทียบเท่ากับอยู่ในราศีอุจจ์หรือมากกว่า เพราะฉะนั้นวรโคตมนวางศ์จึงเป็นนวางศ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง

โศลกที่ ๓๕

               ในประเภททะศะมำศะ คือแต่ละราศีแบ่งออกเป็น ๑๐ ส่วนเท่าๆกัน การจัดพระเคราะห์เข้าครองทะศะมำศะของราศีใด ๆ มีกฏเกณฑ์ดังนี้ สำหรับราศีที่ใช้นับตั้งแต่ราศีนั้นเป็นหลักแล้วนับเป็นลำดับไป สำหรับราศีคู่ใช้ราศีที่ ๙ จากราศีนั้นเข้ามาครองส่วนทะศะมำศะที่ ๑ แล้วเรียงลำดับกันไป ยกตัวอย่างเช่นราศีเมษเป็นราศีคี่ ดาวครองทะศะมำศะในราศีเมษมีดังนี้คือ อังคาร ศุกร์ พุธ จันทร์ อาทิตย์ พุธ ศุกร์อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ ราศีพฤศภเป็นราศีคู่ ดาวครองทะศะมำศะในราศีพฤษภขึ้นต้นด้วยราศีที่ ๙ จากพฤศภ แล้วเรียงกันไปคือ เสาร์ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร ศุกร์ พุธ จันทร์ อาทิตย์ พุธ และศุกร์ เป็นต้น

สำหรับในระบบทวาทำศำศะคือทุก ๆ ราศีที่แบ่งเป็น ๑๒ ส่วนเท่า ๆ กัน การจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองส่วนต่าง ๆ เหมือนกันหมดทุก ๆ ราศี คือส่วนแรกครองด้วยดาวที่ครองราศีนั้นเองแล้วถัดไปตามลำดับราศีจนครบ ๑๒ ส่วน ฯ

หมายเหตุ

               ในบางคัมภีร์ได้จัดเทวดาต่าง ๆ เข้าครองทศมำศะ เช่นในราศีที่เทวดาและปีศาจครอง ๑๐ องค์ ตามลำดับคือ อินทระ อัคนิ ยม รากษส มารุต กุเวร อีศาน ปัทมะชะ และอนันต์ สำหรับราศีคู่คิดกลับกันคือ อนันต์ขึ้นต้นและต่อไปปัทมะชะเป็นลำดับจนสิ้นสุดคืออินทระ สำหรับการครองส่วนต่าง ๆ ของประเภททวาทะศำศะก็ได้จัดไว้เพียง ๔ องค์เข้าครอง คือคะเณศะ อัศวินีกุมาร ยม และอะหิ เมื่อถึงอะหิหรือพระราหูแล้วก็ขึ้นต้นใหม่ พระคะเณศอีกตามลำดับเดิมจนหมดทั้ง ๑๒ ส่วน และทุก ๆ ราศีใช้กฏอันเดียวกัน เกี่ยวกับเรื่องเทพนิยายและเทวดาปีศาจต่าง ๆ ที่จัดเข้าครองส่วนต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ โหรสมัยใหม่ไม่ได้เอาใจใส่กันแล้ว

โศลกที่ ๓๖

               ในระบบโษฑะคำศะ คือการแบ่งแต่ละราศีเป็น ๑๖ ส่วนเท่า ๆ กัน การจัดเทวดาเข้าครองส่วนย่อย ๆ มีกฏเกณฑ์ดังนี้ ในราศีคี่ส่วนที่ ๑ ครองด้วย พรหม วิษณุ หะระ และระวิ เป็นลำดับ แล้วส่วนที่ ๕ ขึ้นด้วย พรหมใหม่เป็นรอบที่ ๒ แล้วซ้ำอีกรอบเป็นรอบที่ ๓ และรอบที่ ๔ สำหรับในราศีคู่ใช้กฏอันเดียวกันแต่สลับกัน เอาระวิขึ้นต้นลงท้ายด้วยพรหม แล้วขึ้นต้นใหม่เป็น ๔ รอบเช่นกัน ฯ

โศลกที่ ๓๗

โศลกที่ ๓๘ – ๔๓

๑.     โฆรำศะ                                                                              ๒๑.    ปัทมะภานะวำศะ

๒.    รากษสศำศะ                                                                    ๒๒.  วิษณุอำศะ

๓.     เทวำศะ                                                                          ๒๓.  ภรหะมำศะ

๔.     กุเพรำศะ                                                                            ๒๔.  มเหศวะรำศะ

๕.     ยักษาวาละยำศะ                                                           ๒๕.  เทวำศะ

๖.     กินนะรำศะ                                                                       ๒๖.   อรรทรำศะ

๗.    ภรัษฏำศะ                                                                          ๒๗.  กะลินาศำศะ

๘.     กุละฆะนำศะ                                                                  ๒๘.  กษิดิศวะรำศะ

๙.     คะระลำศะ                                                                        ๒๙.   กะมะลากรำศะ

๑๐.   อะคนะยำศะ                                                                    ๓๐.   คุลิกำศะ

๑๑.   มะยำศะ                                                                               ๓๑.   มฤตยูกะรำศะ

๑๒.  ปเรตะปุรีศำศะ                                                              ๓๒.  กาลำศะ

๑๓.  อะปำปะติยำศะ                                                             ๓๓.   ทาวาคนิอำศะ

๑๔.  เทวะคะเณศำศะ                                                           ๓๔.   โฆรำศะ

๑๕.  กาลำศะ                                                                               ๓๕.   ยะมำศะ

๑๖.  สระปำศะ                                                                          ๓๖.   กันฏะกำศะ

๑๗.  อมฤตำศะ                                                                          ๓๗.  สุธาคำศะ

๑๘.  จันทรำศะ                                                                          ๓๘.   อมฤตำศะ

๑๙.   มฤทวำศะ                                                                          ๓๙.   ปูรณะจันทรำศะ

๒๐.  โกมะลำศะ                                                                       ๔๐.   วิษปราทิตะธำศะ

๔๑.  กุลนาศำศะ                                                                       ๕๑.   กาลาคนิอำศะ

๔๒. วำศะกัษยำศะ                                                                 ๕๒.  ทัณฑายุธำศะ

๔๓. อุตปาตกำศะ                                                                   ๕๓.   นิรมะลำศะ

๔๔. กาลำศะ                                                                               ๕๔.   ศุภะกะรำศะ

๔๕. เสามยำศะ                                                                          ๕๕.   กะรุรำศะ

๔๖.  มฤทวำศะ                                                                          ๕๖.   ศีตะลำศะ

๔๗. ศีตะลำศะ                                                                          ๕๗.  สุธำศะ

๔๘. ทำษัฏรากะราลำศะ                                                    ๕๘.   ปะโยธะยำศะ

๔๙.  อินทุมุขำศะ                                                                      ๕๙.   ภรหมนำศะ

๕๐.  ปรวิณำศะ                                                                          ๖๐.    อินทุเรขำศะ

สำหรับราศีคู่เรียงกลับกันคือเอาส่วนที่ ๖๐ มาเป็นส่วนที่ ๑ ฯ

****************************************************************************************