หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
จำนวนผู้อ่าน: 2173

พระแม่สรัสวดี

โศลกที่ ๒๙

หมายเหตุ

               คำว่าอุจจ์แปลว่าสูงสุดคู่กันนิจแปลว่าต่ำสุด เชื่อกันว่าดาวต่าง ๆ ที่ได้องศาเต็มที่ของอุจจ์เป็นดาวที่ให้คุณอย่างยอดเยี่ยม และถ้าเป็นตำแหน่งนิจเต็มที่หรือ ปรมะนิจ ก็ถือว่าให้โทษอย่างยิ่ง ท่านจะเห็นได้ว่าในการกำหนดตำแหน่งดาวที่เป็นอุจจ์ในราศีต่าง ๆ ดาวทุกดวงใน ๗ ดวงไม่คิดราหูและเกตุจะเป็นอุจจ์พร้อมกันไม่ได้เลย ในเมื่อเราทราบระยะเชิงมุมของดาวพุธและดาวศุกร์อย่างดีแล้ว ตัวอย่างเช่นเมื่อพุธเป็นอุจจ์ในราศีกันย์ในเวลาเดียวกันอาทิตย์และศุกร์จะอยู่ราศีเมษและมีนไม่ได้ สำหรับอาทิตย์และศุกร์เป็นอุจจ์พร้อมกันได้แต่ในขณะนั้นพุธเป็นอุจจ์ไม่ได้ ท่านจะเห็นได้ว่าการเป็นอุจจ์ของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ พร้อมกันอย่างมากที่สุดได้เพียง ๖ พระเคราะห์เท่านั้นคือเว้นพุธดาวเดียว และเมื่อดวงอาทิตย์และจันทร์เป็นอุจจ์พร้อมกันคิดตามองศา ปรมะอุจจ์ อาทิตย์และจันทร์จะอยู่ห่างกันเพียง ๒๓ องศาเท่านั้น หรือประมาณ ๒ ค่ำ ซึ่งก็เป็นเวลาที่จันทร์มีแสงน้อยมาก โดยเหตุนี้ท่านจึงถือว่าจันทร์เพ็ญในราศีพฤษภเฉพาะอย่างยิ่งในนักษัตรกติกาเป็นจันทร์เพ็ญที่ให้คุณที่สุดในกระบวนจันทร์เพ็ญในราศีต่าง ๆ ทุกราศี เพราะจันทร์เพ็ญในราศีพฤษภยังมีโอกาสเป็นอุจจ์อีกด้วย สำหรับองศามหาอุจจ์นี้กล่าวตรงกันทุกคำภีร์

โศลกที่ ๓๐

หมายเหตุ

               การแบ่งราศีหนึ่งออกเป็นหลายส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนมีชื่อรวมเรียกว่า วรรค และมีชื่อพิเศษเรียกอีกต่างหาก ซึ่งชื่อนั้นเองบอกเสร็จว่าราศีหนึ่งแบ่งออกเป็นกี่ส่วน การที่แบ่งกล่าวในโศลกนี้แบ่งราศีออกเป็น ๑๐ ประการจึงเรียกระบบอันนี้ว่า ทศวรรค ในคัมภีร์อื่นๆ มีกล่าวอีกหลายประการหลายระบบ เช่น ษัทวรรค หมายความว่าการแบ่งราศีออกเป็นส่วนๆ ๖ ชนิดด้วยกัน และสัปตะวรรคคือการแบ่งราศีออก    เป็น ๗ ชนิด ในบางคัมภีร์การแบ่งราศีแย่งอกมากมายถึง ๑๖ อย่างมีชื่อเรียกระบบนี้ว่า โษฑะวรรค คือแบ่งราศีหนึ่งออกเป็น ๑๖ อย่างมีชื่อดังนี้คือ ราศีคือ ๓๐ องศา โหราคือ ๑๕ องศา ทเรกกาณะคือ ๑๐ องศา   จตุรถำศะ คือหนึ่งในสี่ของราศี สัปตะมำศะคือหนึ่งในเจ็ดของราศี นะวำศะ คือหนึ่งในเก้าของราศี    ทะศะมำศะ คือหนึ่งในสิบของราศี ทวาทะศำศะ คือหนึ่งในสิบสองของราศี โษฑะศำศะ คือหนึ่งในสิบหกของราศี วิมศำศะ คือหนึ่งในยี่สิบของราศี สิทฐำศะ คือหนึ่งในยี่สิบสี่ของราศี ภำศะ คือหนึ่งในยี่สิบเจ็ดของราศี ตริมศำศะ คือหนึ่งในสามสิบของราศี ชะเวทำศะ คือหนึ่งในสี่สิบราศี อักษะเวทำศะ คือหนึ่งในสี่สิบห้าของราศี ละ ษัษฐะยำศะ คือหนึ่งในหกสิบของราศี

               เมือมีการแบ่งแต่ละราศีออกเป็นส่วนเท่า ๆ กันหลายระบบเช่นนี้ การจัดพระเคราะห์เข้าครองในส่วนปลีกย่อยต่างๆ ที่แบ่งไว้ มีหลายระบบเช่นกัน และระบบการจัดพระเคราะห์เข้าครองส่วนย่อย ๆ เหล่านี้ ไม่ค่อยเหมือนกันทุกคัมภีร์ จึงเป็นการยากต่อผู้ทีศึกษาอยู่มาก ว่าสมควรจะเชื่อคัมภีร์ใด ตามความเห็นของข้าพเจ้าข้อแรกท่านต้องรู้ความแตกต่างกันทุก ๆ คัมภีร์ ข้อสองควรยึดถือคัมภีร์ใหญ่มากว่าคัมภร์เล็กๆ ข้อสามกฎเกณฑ์อะไรเหมือนกันในหลายๆ คัมภีร์ยึดถือกฎเกณฑ์อันนั้น ข้อที่สำคัญที่สุดถ้าท่านมีเวลาค้นคว้า ผลของการค้นคว้าของท่านเองจะเป็นคำตอบที่ดีและถูกที่สุด

โศลกที่ ๓๑

               ในหนึ่งราศรีถ้าเราแบ่งออกเป็นเจ็ดส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนเรียกว่าสัปตะมำศะ การจัดพระเคราะห์เข้าครองสัปตะมำศะของราศีต่างๆ มีกฎเกณฑ์ดังนี้ ในประเภทราศีคี่เช่นราศี เมษ สัปตะมำศะครองด้วย อังคาร ศุกร์ พุธ จันทร์ อาทิตย์ พุธ และศุกร์ ตามลำดับกันไป ราศีคี่ทุก ๆ ราศีขึ้นต้นด้วยดาวเกษตร์ที่ครองในราศีนั้นแล้วเรียงสลับกันไป สำหรับราศีคู่เช่นราศีกรกฏ การจัดพระเคราะห์เข้าครองสัปตะมำศะ ให้นับราศีที่ ๗ จากราศีนี้ ตั้งต้นครองแล้ว เรียงลำดับกันไป คือ เสาร์ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร ศุกร์ พุธ และจันทร์ เป็นต้น ฯ