หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
จำนวนผู้อ่าน: 1420

Brahma four

โศลกที่ ๑๖ – ๑๗

หมายเหตุ

               การแบ่งราศีต่าง ๆ ออกเป็นสัตว์ ๔ ประเภท คือ มนุษย์ สัตว์บก สัตว์น้ำ และแมลงนี้ เหมือนกันทุกคัมภีร์ แต่ชื่ออาจผิดกันไปบ้างเช่น สัตว์ ๔ เท้า เรียก ปะสุ และราศีพิจิกเรียกกีฏะ เป็นต้น เมื่อเทียบกันกับของไทยเราผิดกันมากสำหรับราศีธนู และราศีมังกร คือราศีธนูทางภารตะถือป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ คือ ๑๕ องศาแรกเป็นคน ส่วน ๑๕ องศาหลังเป็นม้า ฉะนั้นเขาจึงนับครึ่งแรกเป็นนระราศี ครึ่งหลังเป็นปะสุหรือปัสสวะราศี ราศีมังกรทองภารตะถือว่าเป็นสัตว์ประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก โดยกำหนดเอา ๑๕ องศาแรกเป็นสัตว์บกคือกวาง ส่วน ๑๕ องศาหลังเป็นปลาฉลาม ฉะนั้น เขาจึงนับครึ่งแรกเป็นปัสสวะราศี และครึ่งหลังเป็นชลหรืออำพุราศี

โศลกที่ ๑๘

 

โศลกที่ ๑๙

โศลกที่ ๒๐

หมายเหตุ

               ในบางคัมภีร์กล่าวผิดเพี้ยนกันไปบ้างคือ ราศีกรกฎจัดเป็นประเภทพราหมณ์ และราศีพฤศภจัดเป็นประเภทศูทรคือชนชั้นต่ำ สำหรับความเห็นของข้าพเจ้าเองเข้าใจว่าตามคัมภีร์อื่นควรจะถูกดีกว่า เพราะการจัดราศีเป็นตรีโกณพอดี อย่างไรก็ตามขอให้ทุกท่านผู้อ่านกรุณาใคร่ครวญดูเอาเองผิด

โศลกที่ ๒๑

หมายเหตุ

               เกี่ยวกับที่ว่าราศีต่าง ๆ มีสภาพเป็นตาบอดหรือหูหนวกตามเวลาที่กล่าวมานั้น เข้าใจว่าถ้าลัคนาสถิตย์ในราศีตามนั้นและบังเอิญเวลาตรงตามกำหนดที่ว่าไว้ด้วย เจ้าชะตาจะมีอาการกระเดียดไปทางนั้นจะบอดหรือหนวกมากต้องอาศัยพิจารณาจากดาวอื่นอีกด้วย   ในโศลกนี้แปลกที่ไม่ได้กล่าวถึงราศีกุมภ์และราศีมีนเลย