หมวด: เทพจีน-เทพเจ้าชั้นเซียน
จำนวนผู้อ่าน: 36579

何野雲師尊 ความเป็นมาที่เล่าต่อกัน ของ ปรมาจารย์ฮวงจุ้ย
องค์ฮ้อเฮี๊ยฮุ้งฮุดโจ้ว หรือ เซี๊ยโจ้ว เดิมท่านเป็นชาวลิ้มอัง (ปัจจุบันเมืองหั่งจิว ) มณฑลเจี๊ยกกัง นามเดิมว่า นายซุ้ง แซ่โต๋ว (หรือนายอิ๊ก แซ่กัว) เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับท่าน เล้าแป๊ะอุง (ในนาม เล่งบ๊วยเอี๊ย ตลาดใหม่เยาวราช )

ข้อมูลจาก ... สมาคมพุทธธรรมสงเคราะห์  บ้านฉาง-ระยอง พ่งไล้เช็กเซียวเกาะ    038 - 601143

นสมัย ราชวงค์หยวน บ้านเมืองมีการก่อกฏขึ้นต่างฝ่ายต่างแย่งชิงอำนาจเพื่อหวังครองแผ่นดิน ท่านโต๋วซุ้ง (เซี๊ยโจ้ว) และท่านเล้าแป๊ะอุง ได้พากันออกจากสำนักอาจารย์แสวงหาเจ้านายโดย ท่านโต๋วซุ้ง (เซี๊ยโจ้ว) ได้ดูดวงดาวบนท้องฟ้า ทราบว่า ตั้งอิ้วเหลียงเสวยดาวจี้มุ้ย (ดาวฤกษ์)

 

เป็นดาวจรัสแสงมาจุติคือ ผู้มีบุญบารมีที่จะครองแผ่นดิน ส่วนท่านเล้าแป๊ะอุง คำนวณดวงชาตาของจูง้วนเจียงเสวยดาวเทียงเก้า (ดาวราหู) มาจุติ ดังนั้นท่านเล้าแป๊ะอุง จึงเข้าร่วมกับ จูง้วนเจียง ทั้งสองจึงจำเป็นต้องอยู่คนละฝ่ายทั้ง ตั้งอิ้วเหลียงและจูง้วนเจียง ต่างแย่งชิงกันเป็นใหญ่ทำให้เกิดศึกทั่วทั้งแผ่นดิน จากมณฑลฮ้อน้ำเรื่อย ไปจนถึงฮังฮุย เจี๊ยกกังและกังไซ ทำศึกกันอยู่หลายปี  แผนการรบท่านโต๋วซุ้ง (เซี๊ยโจ้ว) ต้องการเดินทัพไปทาง เมืองหน่ำเกีย แล้วเข้าโจมตีแต่ถูก ตั้งอิ้วเหลียง คัดค้านโดยให้สร้างกองเรือและให้โจมตี เมืองหน่ำเกีย ฆ่าฟันผู้คนล้มตายจำนวนมาก ท่านเซี๊ยโจ้วและเตียตังเปียง พยายามห้ามปรามแต่ ตั้งอิ้วเหลียง ไม่ฟังกลับทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเดินทัพมาถึง เมืองกิ้วกัง ท่านเซี๊ยโจ้ว รู้สึกระอาต่อความดื้นรั้นของ ตั้งอิ้วเหลียง จึงคิดตีจากแต่ด้วยจิตใจที่มีความจงรักภักดีจึงมิอาจทรยศนายได้ ตลอดระยะเวลาที่ทำศึกในทะเลสาบพวงเอี๊ยง ของ ตั้งอิ้วเหลียง จากมณฑลฮ้อน้ำเรื่อย ไปจนถึงฮังฮุย เจี๊ยกกังและกังไซ ทำศึกกันอยู่หลายปี  แผนการรบท่านโต๋วซุ้ง (เซี๊ยโจ้ว) ต้องการเดินทัพไปทาง เมืองหน่ำเกีย แล้วเข้าโจมตีแต่ถูก ตั้งอิ้วเหลียง คัดค้านโดยให้สร้างกองเรือและให้โจมตี เมืองหน่ำเกีย ฆ่าฟันผู้คนล้มตายจำนวนมาก ท่านเซี๊ยโจ้วและเตียตังเปียง พยายามห้ามปรามแต่ ตั้งอิ้วเหลียง ไม่ฟังกลับทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเดินทัพมาถึง เมืองกิ้วกัง ท่านเซี๊ยโจ้ว รู้สึกระอาต่อความดื้นรั้นของ ตั้งอิ้วเหลียง จึงคิดตีจากแต่ด้วยจิตใจที่มีความจงรักภักดีจึงมิอาจทรยศนายได้ ตลอดระยะเวลาที่ทำศึกในทะเลสาบพวงเอี๊ยง ของ ตั้งอิ้วเหลียง

โดย ท่านเซี๊ยโจ้วเป็นเสนาธิการได้รับชัยชนะถึง 99 ครั้ง แต่กลับต้องมาพ่ายแพ้ในการศึกครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นครั้งสำคัญในการชี้ชะตาแพ้ชนะ ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้คำนวณและได้รู้ว่าขุนพลฟ้าทั้งสองจะต้องเหลือเพียงหนึ่งเดียว โดยดวงชะตาของ ตั้งอิ้วเหลียงนั้นถึงฆาต เพื่อให้พ้นเคราะห์กรรมจึงได้บอก ตั้งอิ้วเหลียง ให้หลบซ่อนตัวในที่ลับใต้ท้องเรืออย่าออกไปสู้รบจนกว่าจะพันเคราะห์ ในการรบดำเนินไปจนถึงเที่ยงวัน ต่างฝ่ายต่างลั่นกลองเสียงดังสนั่นไปทั่ว ตั้งอิ้วเหลียง มีบุญแต่วาสนาน้อย อารมณ์ร้อนรุนแรง ถูกด่าและยั่วยุต่างๆนานา จนลืมคำเตือนของ เซี๊ยโจ้ว อดทนไม่ไหวจึงใช้กำลังเปิดท้องเรือโผล่หัวขึ้นมา ในที่สุด ตั้งอิ้วเหลียง ก็ถูกลูกเกาทัณฑ์โหมยิงใส่อย่างบ้าคลั่งต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเสียดาย ท่านเซี๊ยโจ้ว ประสบเหตุการณ์ได้ถอนใจและรำพันว่า “ เจ้านายข้ามีบุญ แต่ไร้วาสนาไม่เชื่อฟังคำเตือนจึงต้องพ่ายแพ้เช่นนี้ ” จูง้วนเจียง เมื่อได้รับชัยชนะก็สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ ชื่อ ราชวงศ์หมิง ท่านเล้าแป๊ะอุง มิอาจลืมบทเรียนความพ่ายแพ้ถึง 99 ครั้ง ทำให้ยกย่องและยอมนับถือท่านเซี๊ยโจ้ว เป็นอันมาก

 

 

เนื่องจาก ท่านเซี๊ยโจ้ว มีความรอบรู้เกี่ยวกับเรื่อง ฮวงจุ้ย จึงผันแปรชีวิตตนเอง มาเป็นซินแสฮวงจุ้ย เริ่มต้นได้มาพักอาศัยกับเศรษฐี แซ่เฮ้ง ได้ช่วยดูสร้างศาลบรรพชนจนถึงขั้นตอนยกคลานเอก ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้คำนวณและรู้ว่าจักรพรรดิ จูง้วนเจียง และ ท่านเล้าแป๊ะอุง กำลังเดินทางมาพบตนที่นี่เพื่อเชิญให้ไปช่วยราชการบ้านเมืองแต่ ท่านเซี๊ยโจ้ว ตัดสินใจทิ้งบุญวาสนาทางโลกไม่สนใจยศถาบรรศักดิ์ ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย จึงคิดที่จะหลบหนี ก่อนที่จะจากไป ท่านเซี๊ยโจ้ว พุดกับเศรษฐี แซ่เฮ้ง ว่า * ข้ามีธุระที่ต้องล่องลงใต้พรุ่งนี้ * และก็ถึงเวลาที่จะต้องยกคานเอกด้วย แต่ไม่เป็นไรจะมีผู้มีบุญญาธิการสองคนเดินทางมาที่นี่ ขอให้ท่านเศรษฐี จัดเตรียมอาหารไว้คอยต้อนรับ  หลังจากรินสุราให้สามจอกแล้ว  ให้ท่าน * รีบยกคานเอกขึ้น จากนั้นจงเชิญคนทั้งสองอวยพรให้กับท่าน คนทั้งสองนี้เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน หากได้รับจากเขา อนาคตท่านจะมีบุญวาสนามาก * ก่อนที่ท่านเซี๊ยโจ้ว จะจากไปได้ฝากจดหมายปิดผนึก โดยขอให้ท่านเศรษฐี ช่วยมอบให้คนที่มีอายุมากกว่า ข้อความในจดหมายเขียนว่า *ภารกิจเสร็จสิ้นให้จากไปหากแม้นไม่มีภัยมาใกล้ตัว * ( ต่อมาเมื่อ จูง้วนเจียง เกิดความหวาดระแวงขุนพลและเสนาบดีที่ใกล้ชิด ก็ได้สั่งประหารบุคคลเหล่านี้ ท่านเล้าแป๊ะอุง นึกถึงคำเตือนของท่านเซี๊ยโจ้ว จึงหลบหนีด้วยการลาออกจากราชการแล้วผันตัวเองมาเป็นซินแสฮวงจุ้ย จนได้ฉายาว่า เล่งบ๊วยเอี๊ย ) * จากนั้น ท่านเซี๊ยโจ้ว ก็อำลาลงทางใต้ มีคำกลอนเขียนไว้ว่า

เนื่องจาก ท่านเซี๊ยโจ้ว มีความรอบรู้เกี่ยวกับเรื่อง ฮวงจุ้ย จึงผันแปรชีวิตตนเอง มาเป็นซินแสฮวงจุ้ย เริ่มต้นได้มาพักอาศัยกับเศรษฐี แซ่เฮ้ง ได้ช่วยดูสร้างศาลบรรพชนจนถึงขั้นตอนยกคลานเอก ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้คำนวณและรู้ว่าจักรพรรดิ จูง้วนเจียง และ ท่านเล้าแป๊ะอุง กำลังเดินทางมาพบตนที่นี่เพื่อเชิญให้ไปช่วยราชการบ้านเมืองแต่ ท่านเซี๊ยโจ้ว ตัดสินใจทิ้งบุญวาสนาทางโลกไม่สนใจยศถาบรรศักดิ์ ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย จึงคิดที่จะหลบหนี ก่อนที่จะจากไป ท่านเซี๊ยโจ้ว พุดกับเศรษฐี แซ่เฮ้ง ว่า * ข้ามีธุระที่ต้องล่องลงใต้พรุ่งนี้ * และก็ถึงเวลาที่จะต้องยกคานเอกด้วย แต่ไม่เป็นไรจะมีผู้มีบุญญาธิการสองคนเดินทางมาที่นี่ ขอให้ท่านเศรษฐี จัดเตรียมอาหารไว้คอยต้อนรับ  หลังจากรินสุราให้สามจอกแล้ว  ให้ท่าน * รีบยกคานเอกขึ้น จากนั้นจงเชิญคนทั้งสองอวยพรให้กับท่าน คนทั้งสองนี้เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน หากได้รับจากเขา อนาคตท่านจะมีบุญวาสนามาก * ก่อนที่ท่านเซี๊ยโจ้ว จะจากไปได้ฝากจดหมายปิดผนึก โดยขอให้ท่านเศรษฐี ช่วยมอบให้คนที่มีอายุมากกว่า ข้อความในจดหมายเขียนว่า *ภารกิจเสร็จสิ้นให้จากไปหากแม้นไม่มีภัยมาใกล้ตัว * ( ต่อมาเมื่อ จูง้วนเจียง เกิดความหวาดระแวงขุนพลและเสนาบดีที่ใกล้ชิด ก็ได้สั่งประหารบุคคลเหล่านี้ ท่านเล้าแป๊ะอุง นึกถึงคำเตือนของท่านเซี๊ยโจ้ว จึงหลบหนีด้วยการลาออกจากราชการแล้วผันตัวเองมาเป็นซินแสฮวงจุ้ย จนได้ฉายาว่า เล่งบ๊วยเอี๊ย ) * จากนั้น ท่านเซี๊ยโจ้ว ก็อำลาลงทางใต้ มีคำกลอนเขียนไว้ว่า

*  มุ่งลงใต้ให้ดาวเดือนเป็นเพือนข้า  ต้องฟันฝ่าธารน้ำใสไปให้ถึง    
รอยลี้ลับนับน้อยนิดคิดคำนึง  มีบุญจึงได้พบพานกับท่านเอย  *

 

 

ครั้นถึงเที่ยงวันรุ่งขึ้น ได้มีบุคคลสองคนแต่งกายเรียบร้อยหน้าตาภูมิฐานมาถามหา เซี๊ยโจ้ว ท่านเศรษฐี แซ่เฮ้ง ได้เชิญบุคคลทั้งสองเข้ารับประทานอาหาร เนื่องจากได้เดินทางมาไกลเหน็ดเหนื่อย ท้องกำลังหิว จึงตอบรับคำเชิญ ภายหลังดื่มสุราแล้ว ท่านเศรษฐี แซ่เฮ้ง ได้ฤกษ์ยกคานเอกขึ้น พร้อมทั้งเชิญท่านทั้งสองกล่าวอวยพร ตามคำแนะนำของท่านเซี๊ยโจ้ว ทั้งสองลังเลแต่เพราะท่านเศรษฐี แซ่เฮ้ง เป็นผู้มีน้ำใจและสัตย์ซื่อ จึงได้เล่าเรื่องที่ ท่านเซี๊ยโจ้ว สั่งไว้ให้ฟังจนหมดสิ้น ความจริงแล้วท่านทั้งสอง ท่านหนึ่งคือ จักรพรรดิจูง้วนเจียง อีกท่านคือเสนาบดีเล้าแป๊ะอุง ทั้งสองแต่งกายเยี่ยงสามัญชนเพื่อตามหาท่านเซี๊ยโจ้ว ไปช่วยราชการแผ่นดินเมื่อมาถึงไม่พบก็รู้สึกแค้นเคืองที่หลบหน้าแต่กับแนะนำให้อวยพรแก่สามัญชน ท่านเล้าแป๊ะอุง จึงทูลว่ารับประทานอาหารสุราเขาแล้ว ก็ควรอวยพรให้เขา ว่าแล้วคนทั้งสองก็ลุกขึ้นยืน แล้วเอามือแตะคานจักรพรรดิจูง้วนเจียง อวยพรว่า บุตรนับพันหลานนับหมื่น ท่านเล้าแป๊ะอุง กล่าวต่อว่า ร่ำรวยอายุยืน ท่านเศรษฐี แซ่เฮ้ง จึงเรียนเชิญให้แต่งกลอน เนื่องจากจูง้วนเจียง ยังแค้นเคืองท่านเซี๊ยโจ้ว อยู่จึงพูดแบบปะชดไปว่า ภรรยาตายก่อนสามี บุตรตายหลังบิดา ท่านเล้าแป๊ะอุง แต่งต่อว่า ชนรุ่นก่อนมีบุญ คนรุ่นหลังเจริญ เสวยสุขทรัพย์สินเพิ่มพูน พร้อมกับพูดว่าดี ๆ จูง้วนเจียง จึงถามว่าข้าพูดคีตรงไหน ท่านเล้าแป๊ะอุง กล่าวว่า เจ้านายประกาศิต คำพูดล้วนดีทั้งนั้น ภรรยาตายก่อนสามี ถือว่ามีบุญลูกตายหลังพ่อ ก็เข้าหลักเกณฑ์ที่ดี จูง้วนเจียง ฟังดูแล้วจึงพยักหน้าและว่าดีใช้ได้ ดังนั้นคนรุ่นหลังเวลาสร้างบ้าน สร้างศาลบรรพชน บนคานจะเขียนคำว่า บุตรนับพันหลานนับหมื่น ร่ำรวยอายุยืน หรือไม่ก็เขียนว่า ชนรุ่นก่อนมีบุญคนรุ่นหลังเจริญ เสวยสุขทรัพย์เพิ่มพูล ( ต่อมาได้ข่าว ท่านเศรษฐี แซ่เฮ้ง และภรรยามีอายุยืน กว่าร้อยปีมีลูกหลานมากมายฐานะก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป )
หลังจาก ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้ออกจากบ้านหน่ำเกียแล้ว เดินทางมายังเมืองฮกเกี้ยนข้ามแม่น้ำสำคัญ ๆ ถึง 3 สายแล้วจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ฮ้อเอี๊ยฮุ้ง และแกล้งทำเป็นคนสติฟั่นเฟือน ปล่อยผมเผ้าให้ยาวรุงรัง เสื้อผ้าใส่ก็ไม่ซัก มีเหาขึ้นเต็มหัว จุดประสงค์เพื่อปกปิดฐานะได้ร่อนเร่พเนจรไปตามที่ต่างๆ จากเหนือจรดใต้ จนมาถึงเมืองแต้จิ๋วท่านเซี๊ยโจ้ว ได้สร้างคุณประโยชน์ต่างๆให้ชาวบ้านมากมาย ท่านเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้าและเชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ยเป็นอย่างดี เพียงได้เห็นรูปร่างของภูเขา สายน้ำไหลในรัศมีหลายสิบลี้ ท่านก็รู้ตำแหน่งของหลุมฝังศพควรอยู่ที่ใดและกระแสพลังแผ่นดินเป็นอย่างไรรวมทั้งทิศทางเป็นมงคลและอัปมงคลก็คำนวณได้อย่างแม่นยำไม่ผิดเพี้ยนกิตติศัพท์ของท่านจึงป็นที่เลื่องลือ ดังนั้นในแถบเมืองแต้จิ๋วต่างก็เชิญท่านไปตั้งประตูเมืองบ้าง ศาลบรรพชน สุสาน นับวันทวีมากขึ้นได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ คนที่เชิญท่านเซี๊ยโจ้ว เชื่อตามคำแนะนำ ก็เจริญรุ่งเรือง ดังนั้นชาวบ้านจึง ขนานนามท่านว่า ซักบ้อเซียน มีเรื่องราวปาฎิหาริย์มายมาก กล่าวคือ


ที่อำเภอเตี่ยดัง หมู่บ้านท่ำเซ็ง บ้านแซ่ซุง มาเชิญท่านเซี๊ยโจ้ว ให้ไปสร้างฮวงจุ้ยของบรรพชนท่านเซี๊ยโจ้ว เดินหาชัยภูมิที่เหมาะสมจนมาถึงภูเขา หมู่บ้านพังจิว จึงได้ชัยภูมิที่ต้องการเมื่อสร้างฮวงจุ้ยเสร็จเรียบร้อยก็หาฤกษ์ให้ฝังอัฐิ ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้ออกอุบายโดยบอกกับเจ้าของว่า มีธุระจะต้องไปก่อนและสั่งไว้ว่า
* เมื่อเห็นคนขี่ม้าขาวผ่านมาทางหน้าสุสาน ก็ให้รีบนำอัฐิลงฝังทันทีอย่าให้พลาด * วันนั้น คนบ้านแซ่ซุงได้รอจนตะวันจะพลบค่ำแล้วก็เห็นคนจูงม้าขาวเดินผ่านหน้าสุสานมา จุงคิดว่านี่ฤกษ์ที่ ท่านเซี๊ยโจ้ว บอกไว้รีบสั่งคนงานให้นำหีบทองลงฝังแล้วกลบด้วยดินและทรายจนเกือบจะเสร็จสิ้น ทันใดนั้นมีคนขี่ม้าขาวมาผ่านหน้าสุสานทำให้ทุกคนแปลกใจ
ภายหลัง ท่านเซี๊ยโจ้ว กลับมาจากธุระก็พูดว่า * ไม่ใช่คนจูงม้าแต่เป็นคนขี่ม้าต่างหาก * นับว่าตระกูลแซ่ซุงมีวาสนาน้อย เดิมทีชัยภูมินี้ซ้ายมือมีม้าสวรรค์ ขวามือมีพู่กันบัณฑิต กล่าวคือ จะได้บุตรชายสองคน ที่มีความสามารถ ระดับจอหงวน ฝ่ายบู๊คนหนึ่งฝ่ายบุ๋นคนหนึ่งมียศศักดิ์ทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่ทว่าพลาดโอกาสไปแล้ว เมื่อมังกรคู่กลายเป็นหงษ์ ก็จะได้บุตรีที่มีวาสนา การที่ ท่านเซี๊ยโจ้ว ปลีกไปก็เพื่อทดสอบบุญวาสนาตระกูลแซ่ซุง * นับเป็นลิขิตสวรรค์ * ต่อมาตระกูลแซ่ซุง ได้บุตรีสองคน คนโตแต่งงานกับ เอ็งบ่วงตั๊ก เป็นขุนพลสามทัพส่วนอีกคนหนึ่งแต่งกับ ลิ้มไต้ซิม ซึ่งเป็นจอหงวนฝ่ายบุ๋นราชวงศ์หมิง เลยเป็นตำนานของเมืองแต้จึ๋วสืบมา
ต่อมา ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้เดินทางมาถึงภูเขาซึงโพ่งซัว ท่านได้บอกกับชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียง ให้ตระเตรียมอัฐิบรรพชนให้พร้อม เมื่อได้ยินเสียงฆ้องดังขึ้นบนเขาให้นำอัฐิลงฝังทันที (ฤกษ์ยามท่านเซี๊ยโจ้วได้คำนวณแล้ว) พอถึงฤกษ์ยามดังกล่าว ท่านเซี๊ยโจ้ว จึงได้เดินทางขึ้นบนยอดเขาซึงโพ่งซัว และตีฆ้องจนเสียงดังกึงก้องไปทั่ว ชาวบ้านรีบนำอัฐิไปฝังกลนบอย่างรวดเร็วทันที ส่วนพวกเศรษฐีมัวแต่หาตำแหน่งทิศทางกว่าจะกลบได้สียงตีฆ้องก็ยุติลง ต่อมาพวกเศรษฐีค่อยๆยากจนลง ส่วนพวกที่ยากจนก็ค่อยๆร่ำรวยขึ้น เคยมีผู้
ถาม ท่านเซี๊ยโจ้ว ว่าเป็นเพราะเหตุใด ท่านตอบว่า ภูเขาซึงโพ่งซัว เป็นเขากิเลนวันนั้นเป็นวันที่กิเลนเปลี่ยนเกล็ดพอสิ้นเสียงฆ้องหยุดลงกิเลนก็เปลี่ยนเกล็ดเรียบร้อย พอสิ้นเสียงจะเป็นฤกษ์อัปมงคล นี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์


ในบั้นปลายชีวิตของ ท่านเซี๊ยโจ้ว ได้มาอยู่กับ ตระกูลโล้ว หมู่บ้านห่งกั้งที่ตำบลกุ้ยสือ อำเภอเตี่ยเอี๊ย แม่เฒ่าตระกูลโล้ว ได้ให้การดูแลเป็นอย่างดีทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจ ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ท่านเซี๊ยโจ้วได้ถอดเสื้อคลุมออกตากแดดไว้ แต่หารู้ไม่ว่าในขณะที่นอนหลับอยู่ ท่านแม่เฒ่าเห็นว่าเสื้อคลุม ทั้งสกปรก ทั้งเหม็น มีเหาเต็มไปหมดด้วยความหวังดีจึงได้ซักให้โดยนำน้ำร้อนมาราด ทันใดนั้น ท่านเซี๊ยโจ้ว ก็ต้องสะดุ้งตื่นพร้อมร้องว่า * ชีวิตข้าคงจบสิ้นแล้ว * (เพราะตอนราดน้ำร้อนลงไปที่เสื้อคลุมนั้น ตัวเหาถูกน้ำร้อนลวกตายหมด และตัวของ เซี๊ยโจ้ว เองก็มีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกเช่นกัน สมกับคำร่ำลือที่กล่าวว่า ตัวเหาที่แท้จริงนั้นคือองษ์รักษ์ประจำกายท่าน ท่านรู้ตัวดีว่ามิอาจหลีกพ้นชะตากรรมครั้งนี้ได้ จึงได้สั่งครอบครัว ตระกูลโล้ว ว่าเมื่อท่านสิ้นชีวิตลงให้จัดการฝังศพไว้บนเนินสูงริมธารน้ำกั้ง ซึ่งเป็น * ฮั๊วกูตี่ * อันเป็นทำเลที่เป็นมงคลอย่างยิ่งและที่แท่นศิลาให้เขียนคำว่า * สุสานแห่งเทพภูมิทัศน์ ซักบ้อเซียน *

 

   

 

 

 


 



 

 

 

 

 


 

 

ตอนต้นราชวงศ์หมิงมี “ ซักบ้อเซียน ’’ ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งชัยภูมิทำเลที่ตั้ง ทั้งหลายท่านสามารถชัยภูมิว่าเป็นที่ที่เป็นมลคลหรือเป็นอับมลคลได้อย่าง แม่นยำ เหมือนดั่งตำรา เพียงท่านได้ก้มลงนั่งยอง ๆ ณ ที่ใดก็ตามสถานที่แห่งนั้นมักจะเป็น ที่ที่เป็นศิริมงคล ดังนั้นผู้คนจึงมักแกะสลักคำทำนายทายทักของท่านเป็นอักษรตัวเว้าด้วยวัตถุใน สมัยโบราณ เพี่อเป็นการทดสอบความแม่นยำตามทำนายของท่าน นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงท่าน ฮ้อเอี้ยฮุ้น ตั้งแต่ อิ๋วเหลียงพ่ายศึกท่านแกล้งเป็นบ้ารอนแรมร่อนเร่มาถึง ณ ที่แห่งนี้

ตอนต้นราชวงศ์หมิงมี “ ซักบ้อเซียน ’’ ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งชัยภูมิทำเลที่ตั้ง ทั้งหลายท่านสามารถชัยภูมิว่าเป็นที่ที่เป็นมลคลหรือเป็นอับมลคลได้อย่าง แม่นยำ เหมือนดั่งตำรา เพียงท่านได้ก้มลงนั่งยอง ๆ ณ ที่ใดก็ตามสถานที่แห่งนั้นมักจะเป็น ที่ที่เป็นศิริมงคล ดังนั้นผู้คนจึงมักแกะสลักคำทำนายทายทักของท่านเป็นอักษรตัวเว้าด้วยวัตถุใน สมัยโบราณ เพี่อเป็นการทดสอบความแม่นยำตามทำนายของท่าน นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงท่าน ฮ้อเอี้ยฮุ้น ตั้งแต่ อิ๋วเหลียงพ่ายศึกท่านแกล้งเป็นบ้ารอนแรมร่อนเร่มาถึง ณ ที่แห่งนี้ แต่ไม่อาจทราบถึงที่อยู่อันเป็นหลักแหล่งที่แน่นอนของท่านได้รู้แต่เพียงว่า ส่วนใหญ่ ท่านจะอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านห่งกังกับตระกูลโล้ว และยังมีคำร่ำลือว่านอกชนบทแห่งนี้ มีสุสานที่ฝังศพของท่านด้วย แท้ที่จริงแล้ว ‘ ซักบ้อเซียน ’’ หรือ ‘ ฮ้อเอี้ยฮุ้น ’’ ก็คือบุคคลนั้นเอง ท่านฮ้อเอี้ยฮุ้น อดีตคือเสนาธิการกองทัพของกษัตริย์ ตั่งอิ๋วเหลียง แห่งราชวงศ์ฮั่นอันเกรียงไกร ตั่งอิ๋วเหลียง กับจูง่วงเจีย หลังจากได้นำกองทัพผ้าพันคอสีแดง ออกทำการล้มล้างราชวงศ์ง้วงแล้ว ทั้งสองได้แย่งชิงกันเข้าครอบครองในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1393 ตลอดระยะเวลา 85 วัน ของการทำศึกสงครามที่ทะเลสาบพัวเอี่ยงโอ๊ว ปรากฏว่าตั่งอิ๋วเหลียงได้รับชัยชนะถึง 99 ครั้ง แต่ในที่สุดในการทำศึกครั้งสุดท้ายได้พ่ายแพ้แก่จูง่วงเจียโดยถูกศรสิ้นพระ ชนม์ดังลี่เป็นโอรสของตั่งอิ๋วเหลียง ได้สืบทอดบัลลังก์แทน แต่ตังลี่ได้ยอมแพ้แก่ จูง้วงเจีย เมื่อจูง่วงเจียได้รับชัยชนะจึงได้สถาปนาราชวงษ์หมิงขึ้นมาแต่ เหล่าแป๊ะอุง เสนาธิการกองทับของจูง่วงเจีย กับมิอาจลืมเลือนบทเรียนความพ่ายแพ้ศึกถึง 99 ครั้ง ในอดีตได้ท่านยกยองและนับถือในความสามารถของฮ้อเอี้ยฮุ้น เป็นอย่างมาก จึงได้กราบบังคมทูลเสนอกษัตริย์จูง่วงเจียให้ทรงรับฮ้อเอี้ยฮุ้นเป็นเสนาบดี ซึ่งพระองค์ก็ทรงอนุญาตและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ณ พระราชวังโดยทันที ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ฮ้อเอี้ยฮุ้นเข้าเฝ้า รับสนองพระบรมราชโองการแต่ปรากฏว่าฮ้อเอี้ยฮุ้นปฏิเสธด้วยความสุภาพอ่อนน้อม หลังจากที่ ฮ้อเอี้ยฮุ้น ได้ปฏิเสธการรับตำแหน่งเสนาบดีแล้วท่านก็ได้ออกร่อนเร่พเนจรไปตามที่ต่าง ๆ โดยปกปิดชื่อเสียงเรียบนามแกล้งทำตัวเป็นบ้า ในช่วงระหว่างปีอั่งยู้แห่ง ราชวงค์หมิง ฮ้อเอี้ยฮุ้นร่อนเร่จากเหนือไปยังใต้จนถึงเขตแต้จิ๋ว ในยามชราจึงได้ปักหลักที่ชนบทกุ๊ยสื่อฮวง ณ เมืองเตี่ยเอี๊ย ซึ่งในสถานที่แห่งนี้นี่เอง ที่ฮ้อเฮี้ยฮุ้น ได้รับการสรรเสริฐกล่าวขานจากชาวบ้านทั่วไปมากมาย และมีการเล่าขานสืบทอดกันมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฮ้อเอี้ยฮุ้น ได้รับเสื้อเทพเจ้าชนบทแห่งเมืองเทพเจ้าซึ่งเป็นที่มาแห่งเมืองประตูเทพเจ้า แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ “ ประตูคีแจ่มึ๊ง ’’ “เพ๊กชวงพบฮ้อเอี้ยฮุ้นอย่างอัศจรรย์ สัญลักษณ์ที่ใช้กิ่งใบต้นไทรแขวนไว้บนขอบประตูในเทศกาลง่วงเซียว ( เทศกาลขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 ตามปีปฎิทินจีน ) หรือแม้แต่ เจียะเต็ง ( ศาลาหิน ) ซึ่งมีที่มาจากเรื่องการสร้างศาลของฮ้อเอี้ยฮุ้นแล้วแต้ก๊กเส่งทำลายจนหอก หักตามคำทำนายของฮ้อเอี้ยฮุ้น เรื่องราวที่เล่าขานสืบทอดกันมาเกี่ยวข้องกับ ฮ้อเอี้ยฮุ้น หรือซักบ้อเซียน ระหว่างที่ท่านพำนักอยู่ในเขตแต้จิ๋วทั้งสิ้น กาลเวลาผ่านไปอันยาวนานในวันที่ท้องฟ้าแจ่มในวันหนึ่งขณะที่ ‘ ฮ้อเอี้ยฮุ้น ’’ หรือ ‘ ซักบ้อเซียน ’’( เทพเจ้าเหา ) ซึ่งพำนักอยู่กับแม่เฒ่าตระกูลโล้ว ฮ้อเอี้ยฮุ้นได้ถอดเสื้อคลุมออก ผึ่งแดดและพักผ่อนนอนหลับ ท่านผู้เฒ่าผู้เป็นเจ้าของบ้านเห็นว่าเสื้อคลุมของท่านทั้งสกปรกทั้งเหม็น และเต็มไปด้วยเหา จึงได้ลงมือนำน้ำร้อนมาราดที่เสื้อของฮ้อเอี้ยฮุ้น ทำให้ฮ้อเอี้ยฮุ้นตกใจตื่นขึ้นมาด้วยความร้อนรุ่ม สุดทนและร้องเสียงดังลั่นว่า ‘ชีวิตฉันจบสิ้นแล้ว” เพราะว่าขณะที่แม่เฒ่าราดน้ำร้อนลงเสื้อคลุมนั้น เหาที่อาศัยอยู่ในเสื้อของท่านได้ถูกน้ำร้อนลวกตายหมด ตัวท่านฮ้อเอี้ยฮุ้นเองก็เหมือนถูกลวกด้วยน้ำร้อนด้วยเช่นกัน ท่านรู้ตัวว่ามิอาจจะหลีกพ้นจากภัยพิบัติ อันใหญ่หลวงนี้ได้ ท่านจึงได้สั่งเสียแก่คนทั้ง 5 คน ในตระกูลโล้วให้ จัดการฝังศพของท่านที่หมู่บ้านห่งกัง ในทำเลที่เป็นอัวะกูตี่อันเป็นชัยภูมิที่เป็นมงคลยิ่งแท่นศิลาจารึกที่สุสาน ให้เขียนไว้ว่า สุสานแห่งซักบ้อเซียน ซึ่งได้รับการบูรณะ ในปีกวงลูที่ 13 เจ้าของสถานที่ห่งกังคือ โหล่ว เกี้ยก นับจากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 600 ปี มาแล้ว ตามคำบอกเล่าที่สืบทอดกันมายังมีอีกว่าก่อนที่ฮ้อเอี้ยฮุ้น ท่านจะสิ้นใจเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของแม่เฒ่าตระกูลโล้ว ท่านได้สอบถามความเห็นของแม่เฒ่าว่า แม่เฒ่าต้องการน้ำมันงา 3 เต้า หรือต้องการเสื้อคลุมของผู้มีบุญ ซึ่งหมายถึงการได้เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ทุกชาติไป หรือว่าต้องการได้หมวกสำหรับผู้มียศถาบรรดาศักดิ์สวมใส่จำนวน 18 ใบ ท่านแม่เฒ่าคิดว่าเป็นการพูดหยอกล้อเล่นจึงปล่อยให้วาจาศักดิ์สิทธิ์ของท่าน เหมือนลมพัดผ่านหู และตอบกลับไปว่า คนบ้านนอกคอกนาเป็นชาวไร่ชาวนา ขอให้มีข้าวกินมีงานทำก็ดีถมไปแล้วละท่านฮ้อเอี้ยฮุ้นเห็นว่าแม่เฒ่า ไม่ใส่ใจในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จึงได้ทิ้งคำกลอนไว้เป็นอนุสรณ์ดังนี้ - ใครจักรู้ว่าข้าสรรเสริฐดวงวิญญาณกษัตราโดยจารึกไว้เป็นอักษร- กระเรียนป่าหินจากที่สูงมา ณ สถานที่แห่งนี้- เบิกเมฆเห็นที่นอนของเฒ่า ( ที่ตั้งฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด )- หลังจากข้าวายชีวาแล้ว จักรู้ว่าข้าคือเซียน ( เทพเจ้า ) คำกลอนที่ใช้ท่องจำ สรรเสริฐสืบต่อกันมาในประโยคที่3 อาจผิดพลาด ท่านผู้รู้โปรดแก้ไขด้วย- คุณงามความดีสุดคณานับ จักคงร่องรอยไว้ให้จารึกสืบไป จากคัมภีร์เหล่งซัว มีบทกลอนบันทึกไว้ดังนี้ ‘จะถึงเก๋าหยงจิวได้อย่างไร เมฆ คล้อยไปดาวจรัสแสงรายรอบ ’’สถานบวงสรวงเทพเจ้า ร่องรอยเซียนที่ห่งกันเลื่องระบือไกล อาจารย์กับศิษย์ร่วมกัน ณ เมืองอั่งเอี๊ยง อั่งเอี๊ยงเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศสน์สวยงาม เป็นแหล่งรวบรวมคุณงามความดีนับประการที่มีรอยจารึกฝากไว้มาชั่วกาลนาน ’’ ณ ริมแม่น้ำเหลียงกัง ทางด้านนอกประตูทิศใต้ ( หน่ำมึ้ง ) หมู่บ้านห่งกั้ง ตำบลกุ้ยสือ อำเภอเตี่ยเอี้ยมีสุสานโบราณแห่งหนึ่ง ซึ่งก็คือสุสานขององค์ฮ้อเอี้ยฮ้ง เซี้ยโจ้ว มีแท่นศิลาจารึกไว้ว่า สุสานที่กำเนิดเทพเจ้าซักบ้อเซียน บูรณปฏิสังขรณ์ในปีรัชกาลวงสูที่ 13 ตระกูลโล้วเจ้าของห่งกั้งผู้สร้าง นับจากรัชสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงประจุบันสุสานแห่งนี้มีอายุยาวนานถึง 600 กว่าปี สถานที่แห่งนี้เป็นเนินมีลักษณะเหมือนเต่าที่มีชีวิต ด้านหนึ่งติดริมแม่น้ำ สายน้ำสะท้อนประกายดั้งคลื่นสีหยกน้ำในคลองไหลวน แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ไหลต่อเนื่องไม่ขาดสาย ในช่วงที่เกิดภัยแล้งครั้งใหญ่ในรอบ 70 ปี ซึ่งไม่ค่อยปรากฏภัยแล้งเช่นนี้มาก่อนเลยในประวัติศาลตร์ก้นแม่น้ำเหลียงกัง แห้งขอดจนเป็นทางเดินม้า แต่สระด้านหน้าสุสานกลับมีน้ำลึก 3 เมตรกว่า น้ำในสระทั้งใสและหวานชื่นยามใดที่แม่น้ำเหลียงกังขาดแคลนไม่อาจใช้เป็น แหล่งน้ำได้ สระน้ำแห่งนี้สามารถหล่อเลี้ยงชาวบ้านบ้านใกล้เรือนเคียงได้ถึง 3 ตระกูล คือ ตระกูลแพ้ ตระกูลเบ๊ และตระกูลโล้วหงส์เหิรบินข้ามครองสายน้ำไหลผ่านทั้งทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ตลอดไปยังแดนไกลหงส์ร่อนเหนือฟ้าแดนหงส์แจ่มจรัสร่องรอยโบราณแห่งเทพเจ้าซัก บ้อเซียน กลายเป็นตำนานเล่าขานและสรรเสริญสืบต่อกันมาตราบชั่วกาลนาน
ข้อมูลโดย :
มูลนิธิแสงพระธรรม(พ่งไล้เช็งเซียมเกาะ)
สมาคมพุทธธรรมสงเคราะห์ เกาะ 3 
มูลนิธิระนองสงเคราะห์  เกาะ 11
มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต องค์กรสาธารณะประโยชน์ เกาะ 10
มูลนิธิพุทธธรรม ฮุก 31 เกาะ 19
มูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร เกาะ 21

รายนามสมาคมต่าง ๆ ในเครือมูลนิธิสหพุทธธรรมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย


1.มูลนิธิอนุศาสตร์สงเคราะห์ 48 ม.4 ต.หนองกะขะ อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160
โทร. 038-451231 ประธานนายชัยจิตร รัฐขจร

2.ขุลงมูลนิธิ 69 ถ.เทศบาลสาย 1 อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
โทร. 039-441014 ประธานนายบรรพต เต็มศิริพันธ์

3.สมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ 120/1 ถ.สุขุมวิท ต.ทางเกวียน อ.แกลง จ.ระยอง 21110
โทร.038-671188 ประธาน (รักษาการนายก)นายสำเนียง ลิมปนวัสส์

4.สมาคมพุทธสงเคราะห์ 403/27 ม.5 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทร. 038-282762 ประธานนายกมล อธิรกุล

5.สมาคมสหพุทธธรรมมิก 79 ซ.อันนพ เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
โทร.02-2454974 ประธานนายรังษี ชื่นมีเชาว์

6.สมาคมตราดพุทธสงเคราะห์ 13/1 ถ.ชัยมงคล ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด
โทร.039-511798 ประธานนายดุสิต หัชลีฬหา

7.สมาคมพุทธธธรรมสงเคราะห์ 3 ม.3 บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 21130
โทร.038-601143 ประธานนายสนิท ลิ้มถาวรวงศ์

8.สมาคมพุทธประทีปหลังสวน 310 ถ.หลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร 86110
โทร.077-541246 ประธานนายสงวน นิลรัตโนทัย

9.นครหลวงพุทธสมาคม 5/1 ซ.โรงเลี้ยงเด็ก ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบ กรุงเทพ 10100
โทร.02-2238405ประธานนายปิยพันธ์ ธีรานุตรานนท์

10.มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต 34 ถ.พูนผล ซ.9 ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร.076-211706 ประธานนายเฉลิมเกียรติ อ่องเจริญ

11.มูลนิธิระนองสงเคราะห์ 27/150-152 ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง 85000
โทร.077-811617 ประธานนายม้วน วชิรปาณีกุล

12.สมาคมหนองกี่พุทธสงเคราะห์ 2 ม.5 ต.ทุ่งกระเต็น อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ 31210
โทร.044-641059 ประธานนายกิตติ วงศ์ลิ้มตั้ง

13.สมาคมพาณิชย์เพชรบูรณ์ 1 ถ.เพชรเจริญ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000
โทร.056-711048 ประธานนายชาญชัย เพชรสุขศิริ

14.มูลนิธิพุทธธรรมเพื่อการสงเคราะห์ 692/77 ซ.หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร.02-2158828 ประธานนายสุรินทร์ เบญจพัฒนมงคล

15.มูลนิธิประชาสันติสุข 307 ถ.มหาราช อ.เมือง จ.กระบี่ 81000
โทร.075-611077 ประธานนายสิริชัย แซ่โค้ว

16.มูลนิธิพุทธธรรมสงเคราะห์ 82-2/1 ม.5 ถ.สุระนารายณ์ ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15130
ประธานนายอนันต์ โภชกปรีภัณฑ์

17.สมาคมพุทธศาสตร์ประทีป 212 ถ.ศรีณรงค์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทร.045-255993 ประธานนายชัชวาล ขันติวารี

18.สมาคมแสงธรรมรัตน์การกุศล 220 ถ.เทวาภิบาล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000
โทร.043-525145

19.สมาคมพุทธธรรมการกุศล (ฮุก 31) 158 ถ.จอมสุรางค์ยาตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทร.044-241396 ประธานนายประพัฒน์ อินทนากรวิวัฒน์

20.สมาคมกกไทรหล่มสัก 14/3 ถ.คชเสนีย์ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 67110
โทร.056-701820 ประธานนางหมุยเฮี๊ยะ วัฒนศัพท์

21.มูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร 1300/53-54 ถ.นรราชอุทิศ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
โทร.034-411013 ประธานนายสุพล พูลสุวรรณวิทย์

22.มูลนิธิประสาทบุญสถาน 564/2 ซ.ญาณโยก ถ.สนามบิน อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทร.055-304477-8 ประธานนายชาญชัย วิวัฒน์ธนาฒย์

23.สมาคมพุทธธรรมสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 31110
โทร.044-631595 ประธานนายสมหมาย สริญญามาศ

24.สมาคมพุทธพิชัยตะพานหิน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 66110
โทร.056-623311-2 ประธานนายนายสันติ เสรีเศวตรัตน์

25.พุทธศีลธรรมสมาคมผู้เสียสละเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000
โทร.056-721504 ประธานนายจเร สังขปานันท์

26.มูลนิธิแสงพระธรรม 830 ถ.พัฒนาการสวนหลวง เขตคลองตันประเวศ กรุงเทพ 10250
โทร.02-3198683 ประธานนายอดุลย์ พฤกษ์ธัมมโกวิท

27.สมาคมพุทธประชานุเคราะห์ อ.แกลง จ.ระยอง 21110
โทร.038-671179 ประธานนายเกียรติศักดิ์ ตั้งเจริญสุทธิชัย

28.มูลนิธิกุศลศรัทธา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
โทร.077-272328 ประธานนายกิมเพียว แซ่คู

29.มูลนิธิการกุศลสงเคราะห์เกาะสมุย(ฮงเต็กเซียงตึ้ง) 234/3 ม.3 ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 84140
โทร.077-421444ประธานนายถาวร เดชยอดยิ่ง

30.โรงเจฮกเพ็งฮุกตึ้ง ก.63 ถ.อรรถกวี ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทร.056-213901 ประธานนายทศพล พันธวาวงษ์

31.สมาคมเพียวเยี้ยงไท้ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
โทร.038-325674 ประธานนางสายพร จุรีกานนท์

32.มูลนิธิบ่อไร่เทพธรรมสถาน อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140
โทร.039-536142 ประธานนายประเสริฐ สำราญจิตร

33.มูลนิธิพ่งไล้ซาจับซาเซียวเกาะ (โรงเจไร่หนึ่ง) 555 ม.3 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
โทร.089-9366837 ประธานนายปรีชา เจริญวิทยาพร

34.สมาคมโพธิสัตว์กวนอิม ที่อยู่ ม.1 ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง

35.สมาคมพุทธธรรมสว่างสามัคคี เกาะ 35
942/10 ม.11 ถ.เจริญพาณิชย์ ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 47110
ประธานนายวิจิตร เหล่าชัยเจริญผล

36.ปากพนังพุทธสมาคม เกาะ 36 ที่อยู่ ถ.ชายน้ำ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140
ประธาน คุณจรูญ เสาหวณิช