3.6 อะยะนะพละ การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งการนับหน่วยกำลังในระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร

-ถ้าดาวเคราะห์ใดมีค่าเบี่ยง มุมเอียง เป็น 0 อะยะนะพละ ที่ได้รับเป็น 30 ษัทฎิอัมศะ
-สำหรับดาวศุกร์ พระอาทิตย์ อังคาร และ ดาวพฤหัส ในทิศเหนือ  จะได้รับค่าเพิ่ม แต่หากอยู่ในทางใต้จะถูกลบออกไป
-(ดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้จะได้ อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ สูงหากอยู่ทางเหนือ)
-ดาวเสาร์และดาวจันทร์ จะตรงข้ามกับกลุ่มดาวที่กล่าวมา คือจะได้รับ อะยะนะพละสูงหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละน้อยลง หากอยู่ทางเหนือ
-สำหรับดาวพุธจะได้รับหน่วยกำลังเต็มจากการโคจรเบี่ยงนี้เสมอ (ไม่มีการหักออก ไม่ว่าจะเบี่ยงเหนือ-ใต้)
-หน่วยคะแนนที่สูงสุดในการนับหน่วยคะแนนในระบบนี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ     
-กฏพิเศษคือ อะยะนะพละ ที่ได้ของดาวอาทิตย์จะได้รับการคูณสองเสมอ
-ทุกดาวเคราะห์จะได้ค่า อะยะนะพละ เพียงครึ่งเดียวหากโคจรใกล้จุดวิษุวัต* (Equinoxes) หรือ 0 องศาราศีเมษ และ ราศีตุลย์

วิธีการคำนวนแบบที่ 1*
เราจะแบ่งดาวทั้งหมดออกเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้กฏดังนี้

(1)ดาวจันทร์และดาวเสาร์มีกำลังในการโคจรปัดใต้ (ทักษิณายัน)และได้อะยะนะพละสูงสุด คือ 60 ษัทฎิอัมศะเมื่ออยู่ใกล้จุด 0 องศาในราศีมังกร และเหลือกำลังเป็นศูนย์เมื่ออยู่ในระยะ 0 องศาในราศีกรกฏ
(2)ดาวอาทิตย์,ดาวอังคาร,ดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์มีกำลังในการโคจรปัดเหนือ (อุตรายัน) มีอะยะนะพละสูงสุด คือ 60 ษัทฎิอัมศะใกล้จุด 0 องศาในราศีกรกฏและเหลือกำลังเป็นศูนย์เมื่ออยู่ในระยะ  0 องศาในราศีมังกร
(3)ดาวพุธมีกำลังตลอดจักรราศีและจะได้อะยะนะพละสูงสุดเมื่อใกล้จุด 0 องศาในราศีกรกฏและ 0 องศาในราศีมังกร

การคำนวนกรานติของดาวเคราะห์

กรานติ คือ มุมเอียงของดาวเคราะห์ (declination) ที่เบี่ยงไปจากเส้นศูนย์สูตรฟ้า (celestial equator) หรือ อาการของดาวเคราะห์จรเป็นมุมเยื้องหรือปัดไปจากทางขนานของเส้นสุริยะวิถี ไปทางเหนือหรือใต้  กรานติเป็นมุมระหว่างอวกาศจากเส้นศูนย์สูตรหรือจุดศูนย์กลางของฟ้าและระยะเข้าใกล้หรือออกห่างเท่าใดสุดแท้แต่ระยะกรานติของดาวเคราะห์ และดาวใดใดก็ตามที่โคจรอยู่ในระนาบเดียวกับจุดวิษุวัต (Equinox) ก็จะมีค่ากรานติเท่ากับ 0 และถ้าหากอยู่ใน 0องศาราศีมังกร หรือ  0 องศาในราศีกรกฏก็จะมีค่า กรานติสูงสุด หรือ ประมาณ 23 องศา 27 ลิปดา

สูตรคำนวนที่ 1 อะยะนะพละ = 30 * ( eps +- กรานติ ) / eps = 1.2793 * (eps +- กรานติ)

โดย eps มีค่าเท่ากับระยะห่างจากระนาบสุริยวิถี หรือมีค่าประมาณ 23 องศา 27 ลิปดา โดยมีกฏสำหรับเพิ่ม/ลดค่าการคำนวนดังนี้
1.สำหรับดาวจันทร์และดาวเสาร์ จะต้องบวกค่าเพิ่ม สำหรับการโคจรปัดใต้ และลบค่าออกสำหรับการโคจรปัดเหนือ
2.สำหรับดาวอาทิตย์ ดาวอังคาร พฤหัส และดาวศุกร์ จะต้องลบค่า สำหรับการโคจรปัดใต้และบวกค่าเพิ่มสำหรับการโคจรปัดเหนือ
3.สำหรับดาวพุธ จะได้รับการบวกค่าทั้งการโคจรปัดเหนือและปัดใต้

วิธีการคำนวนแบบที่ 2
ตามวิธีของมหาฤาษีปะราสาระ จากคัมภีร์โหราศาสตรา อัธยายะที่ 27 โศลก 15-17

โดยให้หาค่าระยะห่างของดาวเคราะห์จากเส้นศูนย์สูตรฟ้าและบวกเพิ่มด้วยค่าอายนางศของดาวเคราะห์ แล้วนำไปคำนวนหาค่าระยะห่างจากจุดวิษุวัตที่ใกล้ที่สุด ซึ่งค่าที่ได้จะอยู่ระหว่าง 0 - 90 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขัณฑ์ (ส่วน)ใน 3 ราศี ซึ่งจะมีค่า 45 ในราศีที่ 1และมีค่า 33 ในราศีที่ 2 และ มีค่า 12 ในราศีที่ 3


กฏในการแบ่งขัณฑ์


1.)ดาวเคราะห์ใดที่สถิตย์ในราศีที่ 1 (ขัณฑ์ที่ 1 ) ก็จะได้รับกำลังตามสัดส่วนตามกำลังขัณฑ์ในราศีที่ 1 (ขัณฑ์ที่1 มีค่า 45)
ตัวอย่าง-ดาวเคราะห์ใน 10 องศาราศีมีนห่างจากจุดวิษุวัต (0 องศาราศีเมษ)มีระยะ 20 องศาและหาค่าได้ดังนี้ 20/30 * 45 = 30

 

*วิษุวัต (equinox) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนหมุนของโลกที่เอียง (Earth's axial tilt) จะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่าวันทิวาราตรีเสมอภาค หมายถึงเวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดีศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 ศารทวิษุวัตเกิดตรงกับวันที่ 23 กันยายน เวลา 4:03 น. ตามเวลากรีนิช หรือเท่ากับ 11:03 น. ตามเวลาประเทศไทยวสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 วสันตวิษุวัตเกิดขึ้นในวันที่ 20 เดือนมีนาคมเวลา 18:26 น เวลากรีนิช ซึ่งตรงกับเวลา 01:26 น. ของวันที่ 21 ในประเทศไทย /จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
*http://www.saravali.de