ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 3

อายะนางศ

˜

42.  จุดวิษุวัต (Equinoctial Point)  ศูนย์สูตรของเวหาและสุริยวิถีมีจุดผ่านตัดกัน 2 จุด  เพราะปีหนึ่งอาทิตย์โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน  วันที่อาทิตย์โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตรเรียกว่าวิษุทิน (วันของวิษุวัต)  วิษุทิน 2 วันนี้เป็นวันที่มีเวลากลางคืนและกลางวันเท่ากันทั่วโลก  จุดทั้ง 2 ที่อาทิตย์โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตรเรียกว่า จุดวิษุวัตหรือวิษุบท (Vernal Equinox and The Equinoxes)

43.  การเคลื่อนของวิษุวัติ (Procession of The Equinoxes) จากการวิจัยทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุก ๆ ปีเมื่ออาทิตย์ถึง จุดวิษุวันที่ 0 องศาของราศีเมษ  เมื่อนั้นเวลากลางวันและกลางคืนจะเท่ากันทั่วพื้นพิภพ  และทุกปีพิภพซึ่งสัมพันธ์อยู่แก่กลุ่มดาวนักษัตรบางกลุ่ม  จะเคลื่อนไปทางตะวันตกเกือบ 50 พิลิปดาทุกปี  ทุกปีพิภพจะเคลื่อนไปจากที่เดิมของปีที่แล้วปีละ 50  พิลิปดา เมื่อเป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแต่พิภพหรือสุริยจักรวาลเท่านั้นที่เคลื่อน  แต่ทั้งจักรราศีก็ได้เคลื่อนตามไปทางตะวันตกด้วย  เป็นการเคลื่อนถอยที่เพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อยของจุดวิษุวัต  เรียกว่าการเคลื่อนของวิษุวัต.

44.  จักรราศีเคลื่อนที่และคงที่ ในข้อ 43 จะเห็นได้ว่าจุดวิษุวัตถอยเคลื่อนไปจากที่เดิม  ดาวนักษัตรที่สัมพันธ์แก่ที่สถิตของพิภพได้แก่นักษัตรเรวดี  จักรราศีที่เคลื่อนตามไปด้วยเป็นจักรราศีเคลื่อนที่  หมายความว่าจุดแรกของจักรราศีเคลื่อนที่ไปด้วยกับจุดวิษุวัต  นักษัตรเรวดีเป็นกลุ่มดาวนักษัตรประจำที่อยู่ในเวหาจักรราศีที่กำหนดองศาแรกของราศีเมษที่จุดนักษัตรเรวดีเป็นจักรราศีคงที่  เพราะจุดแรกของเมษเป็นจุดร่วมอยู่ประจำกับนักษัตรประจำที่ (เรวดี) ไม่เคลื่อนตามไปกับ

 


อายะนางศ 15

 

จุดวิษุวัต  จักรราศีเคลื่อนที่เป็นที่กำหนดหมายเอาว่าเป็นจักรราศีของราศี  ส่วนจักรราศีคงที่เป็นที่หมายรู้ว่าเป็นจักรราศีของนักษัตร  เพราะราศีต่าง ๆ โดยมากแบ่งและกำหนดเขตราศีด้วยนักษัตรบท  และให้ชื่อคล้อยตามนักษัตรนั้น ๆ

45.  ระบบสายะนะและนิรายะนะ ระบบจักรราศีเคลื่อนที่ทางดาราศาสตร์จัดเข้าในแผนกระบบสายะนะ  และระบบจักรราศีคงที่จัดเข้าในแผนกระบบนิรายะนะ  ระบบสายะนะเป็นวิธีการของนักโหราศาสตร์ตะวันตกนำมาใช้สำหรับการพยากรณ์  ส่วนนักโหราศาสตร์ภารตะใช้วิธีการของระบบนิรายะนะ

46.  อายะนางศ ความแตกต่างกันระหว่างจุดแรกของสายะนะและนิรายะนะ  ได้ค้นคว้าและพิสูจน์ไว้เมื่อสมัยหนึ่งเรียกว่า อายะนางศ

47  วันที่มีอากาศร้อน (Summer Solstice)   ในวันที่ร้อนที่สุดในฤดูร้อนเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรอย่างใกล้ชิด  ตรงกันอย่างสนิทที่องศาแรกของราศีกรกฎ  เวลานั้นเป็นเวลาที่ทับกันอย่างสนิทที่กึ่งกลางกลุ่มดาวนักษัตรอัสเกษะพอดี.

48.  ไม่รู้วันแน่นอนเมื่อร่วมกันสนิท ปัจจุบันเป็นเชื่อหรือเข้าใจกันว่าพิภพเคลื่อนที่ไปปีละ 1/3*50 พิลิปดา  ถือว่าเป็นการเคลื่อนจากกันของจุด 2 จุดคือสายะนะและนิรายะนะ  เมื่อมีการเกิดการเคลื่อนจากกัน ณ อดีตกาลครั้งหนึ่งก็ต้องมีเวลาที่อยู่ที่ร่วมจุดเดียวกัน  แต่วันเวลาเมื่ออยู่ร่วมจุดเดียวกันไม่อาจรู้แน่นอนได้ว่าตั้งแต่เมื่อไร  อย่างไรก็ดีดาวที่เป็นที่หมายจุดแรกดูเหมือนได้หายไปจากสายเสียแล้ว  เวลานี้สำหรับระยะเคลื่อนที่ที่ล่วงไปแล้วก็ได้แต่อาศัยเหตุผลจองอายะนางศ  ระยะเคลื่อนที่ที่ล่วงไปแล้วจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2497)  คาดคะเนว่าต่างกันจาก 19 ถึง 24 องศา  และเชื่อว่าอยู่ในระยะประมาณ 12 ลิปดาตะวันออกของดาวมีนา  วันเมื่อเคลื่อนจากกันที่ได้กำหนดไว้ก็หลายระยะ  เช่นแต่ปี พ.ศ. 904, 939, 940, 1102 ฯลฯ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสงสัยได้มากมาย  ยังไม่มีการพิสูจน์ใดที่ให้เหตุผลเป็นที่ถูกต้องยิ่งกว่านี้ และเท่าที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ผลสมควร  ถึงแม้จะยังไม่เป็นที่น่าพอใจทีเดียวก็จำต้องรับเอาใช้ไปพลางก่อน  ในที่นี้ไม่มีความประสงค์จะวิจารณ์อย่างหนึ่ง

 

 


 

16                                                                   โหราวิทยา

 

อย่างใดในเรื่องนี้  ซึงจะเป็นการรบกวนนักศึกษาด้วยความสับสนของหลักวิชา  ในการพิจารณาปัญหาที่สำคัญยิ่งในเรื่องการเคลื่อนของจุดวิษุวัต  ต่อไปจะได้ชี้แจงถึงเรื่องอายะนางศและวิธีสามัญสำหรับหาความแน่ชัดของอายะนางศ  พอให้นักศึกษาได้เข้าใจตามหลักการต่อ ๆ ไป.

49.  การใช้อายะนางศ ผู้ชำนาญทางเวหาวิทยาแห่งภารตะตระหนักแน่ว่าระยะองศาของราศีคงที่ (นิรายะนะ)  สัมพันธ์ตายตัวอย่างใกล้ชิดกับจุดของกลุ่มดาวนักษัตร  แต่ทางระบบราศีเคลื่อนที่ (สายะนะ) หาได้แสดงความแน่นอนแห่งที่สถิตให้เป็นที่ประจักษ์ชัดได้  ทั้งทางปฏิบัติและทางที่จะสังเกตเห็นได้ให้ถึงซึ่งความแจ่มแจ้งที่สมเหตุผล  อย่างไรก็ดีวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้  ไม่มีความประสงค์จะล่วงล้ำเข้าวิจารณ์วิธีการของระบบหนึ่งใด  หรือจะชี้ขาดเฉพาะคุณค่าของอายะนางศ  เพียงแต่จะบรรยายที่สถิตของดาวเคราะห์ทางนิรายะนะ  สำหรับความมุ่งหมายทางพยากรณ์ในความหมายของโหราศาสตร์  และสำหรับความต้องการทางโหราวิทยา.

เมื่อได้ตัดอายะนางศจากที่สถิตทางสายะนะแล้ว  และได้ผลถูกต้องจากการคำนวณ  ก็เป็นอันพอเพียงอย่างสมบูรณ์  เพื่อการผูกดวงชะตาและพิจารณาเหตุต่าง ๆ ของกำลังแรงและอ่อนของดาวเคราะห์  และเพื่อครอบคลุมรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในขอบเขตของโหราคณิตศาสตร์  และให้ความสะดวกเพื่อเข้าถึงการพยากรณ์ที่ได้ผลอย่างถูกต้อง.

ทีฆันดรของเรือน (ภวะสผุด) ราศีมานัส (Oblique Ascensions) และการคำนวณที่สำคัญอื่น ๆ เหล่านี้เป็นหลักการคำนวณเพื่อสายะนะราศี  เมื่อได้ตัดอายะนางศจากผลของการคำนวณเหล่านี้แล้ว  ได้ผลจากการตัดอายะนางศเป็นนิรายะนะภวะ ฯลฯ คือว่านักโหราศาสตร์ทางภารตะคำนวณจากมูลฐานของสายะนะก่อน  แล้วในที่สุดตัดทอนลงเป็นนิรายะนะ  นี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่แท้จริงสำหรับอายะนางศ.

50.  วิธีตัดอายะนางศโดยได้ผลพอประมาณ เอาเกณฑ์ไปลบหรือบวกปีที่ต้องการ  ได้เท่าไรเอา 50*1/3  พิลิปดาคูณแล้วแปลงเป็นองศาลิปดา  เกณฑ์อายะนางศในที่นี้นำมาใช้เพื่อให้เห็นวิธีคำนวณตัดอายะนางศเท่านั้น  เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยว

 


 

อายะนางศ 17

 

แก่เกณฑ์ตัดอายะนางศมีกล่าวไว้แล้วในข้อ 48 สำหรับในประเทศไทยเรานี้เท่าที่ได้สังเกตจากปฏิทินและประกอบกับปรากฏการณ์ที่แล้ว ๆ มา  เกณฑ์ตัดอายะนางศประมาณ 835 หรืออยู่ในระหว่าง 835 กับ 836 สำหรับ พ.ศ.

 

ตัวอย่างที่ 1 ตัดอายะนางศสำหรับปี พ.ศ. 2456 อายะนางศ 835

พ.ศ. 2456 – 835 = 1621 X 50*1/3  = 81590  พิลปดา

81590 ÷ 60 = 1359 ลิปดา   50 พิลิปดา

1359 ÷ 60 = 22 องศา 39 ลิปดา

81590"   -  22° 39'   50"    เป็นอายะนางศปี พ.ศ. 2456