ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

คำแปลพระปาฏิโมกข์

นิททานุทเทส


ที่มา จากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น  (ว่า๓  จบ)

ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าอุโบสถวันนี้ที่  ๑๕  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถพึง  แสดงซึ่งปาฏิโมกข์    บุรพกิจอะไรๆของสงฆ์ก็ทำสำเร็จแล้ว  ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์  ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งปาฏิโมกข์พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด  จงฟัง  จงใส่ใจซึ่งปาฏิโมกข์นั้น  ให้สำเร็จประโยชน์.ผู้ใดหากมีอาบัติ  ผู้นั้นก็พึง    เปิดเผยเสียเมื่ออาบัติไม่มี  ก็พึงนิ่งอยู่  ก็เพราะความเป็นผู้นิ่งแล  ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่า  เป็นผู้บริสุทธ์    ก็การสวดประกาศให้ได้ยินมี กำหนด  ๓  ในบริษัทเห็นปานนี้อย่างนี้  เป็นเหมือนถูกถามตอบเฉพาะองค์  ก็ภิกษุใดเมื่อสวดประกาศจบครั้งที่  ๓  ระลึก(อาบัติ)  ได้อยู่  ไม่     เปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่    สัมปชานมุสาวาททุกกฎ    ย่อมมีแก่เธอนั้น  ท่าน ทั้งหลาย  ก็สัมปชานมุสาวาทแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  เป็นธรรมทำอันตราย  เพราะฉะนั้น  เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้  หวังความบริสุทธิ์  พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่  เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว  ความสบายย่อมมีแก่เธอ

ข้อความเบื้องต้น  จบ.

ปาราชิกุทเทส

(ปาราชิก  ๔)

อาบัติทั้งหลายชื่อว่าปาราชิก  ๔  เหล่านี้  ย่อมมาสู่อุทเทสในปาฏิโมกข์นั้น.

๑.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ถึงพร้อมด้วยสิกขาธรรมเนียมเลี้ยงชีพร่วมกัน    ของภิกษุทั้งหลายยังไม่กล่าวคืนสิกขา    ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ถอย  กำลัง  (คือความท้อแท้ )  พึงเสพเมถุนธรรม  โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย  ภิกษุนี้เป็นปาราชิก  ไม่มีสังวาส  (คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น)

๒.  อนึ่ง  ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้  เป็นส่วนโจรกรรม  จากบ้านก็ดีจากป่าก็ดีพระราชาจับโจรได้แล้ว  ฆ่าเสียบ้าง  จำขังไว้บ้าง  เนรเทศเสียบ้าง  ด้วยปรับโทษว่า  เจ้าเป็นโจร  เจ้าเป็นคนพาล  เจ้าเป็นคนหลง  เจ้าเป็นคนขโมย  ดังนี้  เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น  แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตหรือแสวงหาศัสตราอันจะนำ  (ชีวิต)  เสียให้แก่กายมนุษย์นั้น    หรือพรรณนาคุณแห่งความตายหรือชักชวนเพื่อความตายด้วยคำว่า  "แน่ะ  นายผู้เป็นชาย  มีประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันชั่วนี้  ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่"  ดังนี้เธอมีจิตใจ  มีจิตดำริอย่างนี้  พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี  ชักชวนเพื่อความตายก็ดี  โดยหลายนัย   แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

๔.    อนึ่ง  ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ  (คือไม่รู้จริง)  กล่าวอวดอุตตริ มนุสสธัมม์  อันเป็น  ความเห็นอย่างประเสริฐ  อย่างสามารถ  น้อมเข้าในตัวว่า  ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้  ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้  ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใด ผู้หนึ่ง  เชื่อก็ตาม  ไม่เชื่อก็ตาม  ก็เป็นอันต้องอาบัติแล้ว  มุ่งความหมดจด  (คือพ้นโทษ)  จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  "แน่ะท่าน  ข้าพเจ้าไม่รู้  ได้กล่าวว่า     รู้  ไม่เห็นได้กล่าวว่าเห็นได้พูดพล่อยๆ  เป็นเท็จเปล่าๆ"  เว้นไว้แต่ว่าสำคัญว่าได้บรรลุ    แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

ท่านทั้งหลาย  อาบัติปาราชิก  ๔  อันข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล.  ภิกษุต้องอาบัติเหล่าไรเล่า  อันใดอันหนึ่งแล้วย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างแต่ก่อน  เป็นปาราชิก  ไม่มีสังวาสข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย  ในข้อเหล่านั้นท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒      ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถาม  แม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อ เหล่านี้แล้วเหตุนั้น  จึงนิ่ง.    ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาราชิกุทเทส  จบ.