หมวด: โหราสาร -บทความทางโหราศาสตร์
จำนวนผู้อ่าน: 21024

 

มีท่านหนึ่งถามขึ้นว่า "ทักษามีมาแต่ที่ใด??? ใยใช้สิ่งนี้ตัดสินชะตา......." ทักษาหรือระบบภูมิพยากรณ์ ซึ่งมีคาถาอยู่ 8 ตัว ดังนี้คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณีซึ่งแต่เดิมใช้แทนนามกำเนิด การตั้งชื่อ และใช้กับทิศต่างๆ หรือทักษาครองทิศ แต่การเอาทักษามาปะปนกับโหราศาสตร์จนแยกกันไม่ออก จนการพยากรณ์ทุกวันนี้จะต้องใช้ทักษามาเป็นหลักในการวินิจฉัยดวงชาตาที่สำคัญแทนหลักโหราศาสตร์อื่นๆ บางท่านก็ว่าแม่น บางท่านก็ว่างง บางท่านก็ว่ารุ่มร่ามไป บางท่านก็ว่าทายผิดหมด ความเห็นผมว่าอิทธิพลของดวงดาว และจักราศี และอิทธิพลของดาวนักษัตรฤกษ์เท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ วิชาอื่่นๆนอกนั้น เช่น ใช้ ราศีคู่ธาตุ คู่สมพล ใช้หลักอุจนีดาวเคราะห์ หรือใช้แรงเอื้อม ใช้ทักษา ใช้องศา ใช้สัปตฤกษ์ ใช้กาลโยค ฯลฯ หรือใช้หลักอื่นๆ ก็เป็นแค่เทคนิคของแต่สายครูอาจารย์ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อตัดสินอะไรบางอย่าง ส่วนความจริงทักษาแบบนี้แทบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวิชาโหราศาสตร์เลย

 

 

อย่างไรก็ตามทฤษฎีทางโหราศาสตร์ได้กล่าวว่า อิทธิพลของดาวฤกษ์หรือนักษัตรย่อมมีเหนือจักราศี อิทธิพลของจักราศีย่อมเหนือกว่าดาวเคราะห์ อิทธิพลของดาวเคราะห์ย่อมมีเหนือดิถี(จันทร์+อาทิตย์) อิทธิพลของของดิถีย่อมมีเหนือวาร(วัน) อิทธิพลของวารย่อมมีเหนือยามกาล(ชั่วโมง-นาที) ฯลฯ

สำหรับฤกษ์ล่าง หรือวันดีร้ายต่างๆ เช่น ดิถีอมฤตโชค ดิถีพิฆาต ดิถียมขันธ์ ดิถีมหาสูญ ฯลฯ หลักที่คำนวนจากนักษัตรประกอบด้วยดิถี ย่อมมีพลังกว่าวารที่ประกอบด้วยดิถี แต่วารที่ประกอบด้วยดิถีและนักษัตรย่อมมีกำลังสูงกว่าที่กล่าวมา แล้วทักษาจะมาแต่ไหนจึงเป็นเหตุให้มีอิทธิพลเหนือกำลังอื่นๆได้

อ.ยอดธง ทับทิวไม้ ผู้เขียนตำราโหราศาสตร์เอาไว้มากมากมายได้กล่าวไว้ในหนังสือ"โหราศาสตร์ไทย วิทยาการแห่งความอัปยศ" เอาไว้ดังนี้..... "คัมภีร์ทักษาพยากรณ์ ที่มีคาถา 8 ตัว คือ บริวาร อายุ เดช ศรี ฯลฯที่วงการโหรไทยใช้กันอย่าเอาเป็นเอาตายนั้น" ผู้เขียนไม่เห็นด้วยที่จะเอามาใช้ปะปนกับวิชาโหราศาสตร์ไทย  อ.ยอดธง ได้กล่าวอีกต่อไปว่า ......"คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยนั้นมีมายมายถึง 153 คัมภีร์ ซึ่งแต่ละคัมภีร์แต่ละเกจิอาจารย์ก็อยู่ต่างยุคต่างสมัย ต่างสถานที่กัน
แล้วก็เขียนต่างทิศต่างทางกันจนไม่อาจลงรอยกันได้

นั่นหมายถึงว่า คัมภีร์หนึ่งๆต่างก็มีกฏเกณฑ์อย่างหนึ่งหรือวิชาแบบหนึ่ง หรือหลักเกณฑ์เดียว คัมภีร์เดียว หรือวิชาเดียวนั้นไม่อาจะยืนยันปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับดวงชาตาได้ถูกต้อง จึงจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์อื่นๆ และกฏเกณฑ์อื่นๆ(จาก 153 คัมภีร์) มาร่วมทดสอบ เพื่อแสวงหาคำตอบที่ชัดเจนที่สุดจากหนึ่งหนึ่งคัมภีร์ เป็น2-3 คัมภีร์ จนกระทั่งเป็นร้อยคัมภีร์

8 thai astrology


แต่ละคัมภีร์ที่สร้างมานั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของเกจิอาจารย์แต่ละยุค แต่ละสำนัก ซึ่งอาจจะไม่ได้ยอมรับกันทั่วไปก็เป็นได้ เมื่อมีคัมภีร์มากขึ้น ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น คัมภีร์แต่ละคัมภีร์อาจจะขัดแย้ง หรือตีกันให้ยุ่งกันไปหมด จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ร้ายที่สุดก็คือนักวิชาการไทยแต่โบราณกลับไม่บอกเหตุผลและที่มาของหลักวิชาที่ตนคิดขึ้นมา หรือปิดบังเหตุผลที่แท้จริงของวิชานั้นๆ ไว้ให้ชนรุ่งหลังตีความเอาเอง ฉะนั้นคัมภีร์โหราศาสตร์ต่างๆของไทย จึงเป็นคัมภีร์ที่อันตรายต่อการเรียนรู้ และภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก

คำแถลงของหนังสือ ลิลิตทักษาพยากรณ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี หลวงอรรถวาทีธรรมประวัติ สรุปความว่า ทักษาพยากรณ์นั้น เป็นเรื่องของเทวดาเข้ามาเสวยอายุ ซึ่งใช้เหมือนกับ "ทศา" ของโหราศาสตร์ฮินดู เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกจากนี้

อาจารย์ยอดธงได้กล่าวอีกว่า....วิชาโหราศาสตร์ไทยกับวิชาหมอดูนำมาปะปนร่วมกัน ใช้กันจนยุ่งเหยิงไปหมด จนหาหลักเกณฑ์ที่เข้ากันไม่ได้ และการใช้ทักษาพยากรณ์ก็ดูเป็นเรื่องตลกขบขันในวิชาโหราศาสตร์ไทย เพราะมันหาความแม่นยำแน่นอนจริงๆไม่ได้ วิชาทักษาพยากรณ์ที่นำมาใช้ปะปนในวิชาโหราศาสตร์และตำราหมอดูไทยนั้น มีอยู่ 5 ระบบที่ได้ใช้ปะปนกันมาแต่โบราณ คือ ๑.ระบบภูมิพยากรณ์ ๒.ระบบฉัตรสามชั้น ๓.ระบบฐานเมรุ ๔.ระบบยามกลางวัน-กลางคืน ๕.ระบบมหาทักษาพยากรณ์

เมื่อพิจารณาจากกฏเกณฑ์ของวิชาดังกล่าว "มิได้เกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์แต่อย่างใด" เพราะไม่มีรายละเอียดของราศีหนือตำแหน่งดวงดาวใดใดเข้าไปเกี่ยวข้อง แม้แต่องศา หรือ ดาวนักษัตรฤกษ์ ก็หาได้มีไม่ ฉะนั้นหมอดูก็ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย เพียงแค่จำพระเคราะห์ 8องค์ได้ จำภูมิทั้ง 8ได้ แล้วนำฝอยคำทำนายซึ่งก็มีอยู่เพียว 8-9 บรรทัดมาทำนาย ก็กลายเป็นผู้สำเร็จในวิชาโหราศาสตร์หรือหมอดูอย่างที่มีมายมายในเมืองไทยปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2521 ) ถึงกระนั้นก็ตามเท่าที่ปรากฏอยู่ในวงการโหราศาสตร์ไทยในปัจจุบัน นักโหราศาสตร์ทุกคนต่างก็ยึดมั่น ถือมั่นในคัมภีร์ทักษาพยากรณ์นี้เป็นหัวใจของวิชาโหราศาสตร์ไทยกันทั้งสิ้น แต่ก็ได้เพิ่มกฏเกณฑ์หรือฝอยพิเศษกำกับภูมิทั้ง 8 เข้าไปชั้นหนึ่ง คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี......... โดยเริ่มนับจากวันเกิดเป็นบริวาร ไปจนถึงกาลกิณี โดยดวงดาวทุกดวงที่เข้ามาตกภูมิปี ได้ถูกสวมเสื้อสวมหมวกด้วยคาถา 8 ตัวนี้ ให้มีบทบาทกำหนดวิถีชีวิตของเจ้าชาตาทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายฯ

15 thai astrology

คำถามที่ร้ายที่สุดที่นักศึกษารุ่นใหม่บางคนมักจะถามสอดขึ้นมาเสมอว่า "บริวาร อายุ เดช ศรี ฯลฯ หรือ ทักษาทั้ง ๘ นี้มาจากไหน โบราณมีกฏเกณฑ์ในการตั้งกฏนี้ขึ้นมาอย่างไร และจะเชื่อถือได้เพียงไร"...........ก็ตอบกันไม่ได้ตามเคย และก็ไม่รู้ว่าจะหาคำตอบได้จากที่ไหน อาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อสืบเสาะต้นไปถึงต้นตอที่มาของทักทั้ง 8 นี้แล้ว ไม่เคยปรากฏว่าเคยมีอยู่ในตำราของประเทศหนึ่งประเทศใด ไม่ว่าในระบบนิรายนะ หรือ สายนะ หรือแม้แต่อินเดียเอง(ต้นตำหรับของโหราศาสตร์ไทย)
ก็ไม่ปรากฏว่ามีคาถา 8 ตัวนี้อยู่ในโหราศาสตร์และวิชาโหราศาสตร์ที่นำดวงดาวมาเป็นเครื่องมือนั้น รับรองได้ว่า ไม่มีการนำคาถา 8 ตัวนี้มาใช้กันอย่างเด็ดขาด แม้แต่ในวิชาโหราศาสตร์ไทย...แต่มีอยู่สองแห่งที่ปรากฏว่าทักษา 8 ตัวนี้ได้ถูกนำมาใช้คือใน "คัมภีร์มหาภูติ" ซึ่งเป็นคัมภีร์สำหรับดูเลข ๗ ตัวของพม่า และ"คัมภีร์มหาทักษสังคหปกรณ์" อันเป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงความสำคัญของนามวันเกิด หรือ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับนำมาใช้ตั้งชื่อคน นอกจากนี้เรื่องทักษาก็มิได้ไปปรากฏว่ามีอยู่ในคัมภีร์ใดๆอื่นอีก และก็ไม่ได้มีมาแต่เดิมด้วย

"คัมภีร์มหาทักษสังคหปกรณ์" ถือชื่อหรือนามทักษามีความสำคัญกว่าดวงดาวในชาตากำเนิด โดยยกตัวอย่างดวงชาตาของ "ชูชก" ท่านว่าดวงชาตาของชูชกนั้นมีดาวให้คุณอยู่ทุกดวง สมควรที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่หากอกุศลกรรม ที่ตกแต่งด้วยนาม ๕ จึงเบียนเบียนตนหนัก แต่อาศับผลบุญอันหนึ่งจึงได้ผูกผมสูงขึ้นไปเหมือชฏา(เหมือนพระเจ้าแผ่นดิน) และจึงตั้งนามว่า ชูชโก ก็เป็นเหตุให้ได้เมียสาวสวยแต่ไม่รวยทรัพย์....

โดยการอธิตามคัมภีร์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ดวงชาตาของคนที่พยากรณ์จากหลักโคจรของดวงดาว กลุ่มดาวฤกษ์ และจักรราศี นั้นไม่มีความหมายอะไรเลย แม้ว่าดวงดาวนั้นสูงส่งเทียมกษัตริย์ แต่หากชื่อหรือนามเป็นกาลกิณีตามหลักทักษาปกรณ์แล้ว ความสูงส่งของดวงชาตาที่คำนวนมาจากอิทธิพลของดวงดาวนั้นจะไม่มีความหมายอันใดเลย....


คัมภีร์ทักษาพยากรณ์อย่างที่เข้าใจกันอยู่ และใช้กันอยู่ในวางการของโหราศาสตร์ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับดาวเคราะห์ ไม่ได้เกี่ยวกับราศี ไม่เกี่ยวกับฤกษ์ยามอะไรทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกลับเป็นวิชาหนึ่งที่แยกอิสระออกไปจากโหราศาสตร์ ซึ่งเพียงแค่หยิบยกชื่อบุคคลมาเป็นเครื่องมือในการทำนาย และมีคาถาทักษา 8 ตัวที่รู้จักกันทั่วไปนั้น มาใช้ทายเฉพาะชื่อหรือนามเท่านั้นเอง.................