Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

(6.) ข้อยกเว้นและกฏเกณฑ์พิเศษอื่นๆ


และเมื่อมาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการหาฤกษ์ยามชั้นสูงก็คือการพิจารณากฏเกณฑ์ข้อห้ามต่างๆ โดยได้รวบรวมกฏเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักใหญ่ๆในการตัดสินและสอบทานฤกษ์ยามในขั้นสุดท้ายว่าถ้าหากไม่ละเมิดกฏเกณฑ์ที่ว่านี้แล้วแสดงว่าดวงฤกษ์นั้นบริสุทธิ์และสมบูรณ์ด้วยกำลังอันเป็นศุภผล และสามารถนำฤกษ์มงคลนี้ไปใช้ได้และจะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ตามปรารถนา ซึ่งมีรายละเอียดังต่อไปนี้

6.1    คัณฑานตะ-หมายถึงข้อพับ หรือเป็นจุดรอยต่อของฤกษ์และราศี ซึ่งแสดงถึงการแตกแยก ทำลาย และความวิบัติ โดยมีระยะเวลานานถึง ๗.๕ ฆฏิกะ ( ๑ ฆฏิกะเท่ากับ ๒๔ นาที) หรือเป็นเวลา ๑๘๐ นาที มีรายละเอียดดังนี้
ก.    ช่วงเวลารอยต่อระหว่าง เชษฐนักษัตรที่ ๑๘ กับ มูลละนักษัตรที่ ๑๙ หรือรอยต่อของราศีพิจิกกับราศีธนู
ข.    ช่วงเวลารอยต่อระหว่าง อาศเลษะนักษัตรที่ ๙ กับ มาฆะนักษัตรที่ ๑๐ หรือรอยต่อของราศีกรกฏกับราศีสิงห์
ค.    ช่วงเวลารอยต่อระหว่าง เรวดีนักษัตรที่ ๒๗ กับ อัศวิณีนักษัตรที่ ๑ หรือรอยต่อของราศีมีนกับราศีเมษ

โบราณกล่าวว่า ช่วงเวลารอยต่อระหว่างเชษฐนักษัตรที่ ๑๘ กับมูลละนักษัตรที่ ๑๙ หรือรอยต่อของราศีพิจิกกับราศีธนูเป็นจุดอันตรายร้ายแรงที่สุด เรียกว่า “อภุกต” และท่านกล่าวไว้อีกว่าเด็กชายหญิงตลอดจนสัตว์ใดใดถือกำเนิดในเวลาของช่วงรอยต่อทั้งสามนี้ จะนำความพินาศและวิบัติมาสู่ครอบครัวและวงศ์ตระกูล

6.2    สุริยะสังกรามณะ
เป็นช่วงเวลาที่ให้โทษร้ายแรง เป็นช่วงของดาวอาทิตย์กำลังย้ายราศี ห้ามให้ฤกษ์ประกอบการมงคลทุกชนิดโดยเด็ดขาด และหากประกอบการใดๆในวันนี้โดยเฉพาะเวลาที่พระอาทิตย์กำลังจะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง ในระยะ ก่อน-หลัง 6 ชั่วโมง 24 นาที จะเกิดสั่นคลอนทั้งสุริยจักร จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ความไม่มั่นคง ความรุนแรง และจะเกิดผลเสียหายตามมาภายใน 3-6เดือน นับจากวันนี้ แต่วันนี้เหมาะสำหรับการเรียน เวทย์มนต์ เลขยันต์ ปลุกเสก ลงตะกรุด ถอดถอน คาถาอาคม โหราศาสตร์ ปฎิบัติฌาณ สมาธิ จะให้ผลดี นอกจากนี้เป็นวันที่เหมาะแก่การชำระสะสาง งานเก่า ภาระที่คั่งค้างเก่าๆ การชะล้าง ทำความะอาด ซ่อมแซม และการปรับปรุงสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น

6.3    กรรตรีโทษ
หมายถึงกรรไกร ในดวงฤกษ์ถ้ามีดาวร้ายขนาบข้างลัคน์ทัั้งสองด้าน ถิอว่าจะเป็นการบีบลัคนา หรือ เบียฬลัคน์สัมพันธภาพของดาวปาปเคราะห์นี้จะให้โทษ เรียกว่า กรรตรีโทษ ห้ามทำการมงคลทั่วไปห้ามเด็ดขาดโดยเฉพาะงานมงคลสมรสถือว่าให้โทษแก่คู่บ่าวสาว จะส่งผลให้เกิดการขัดแย้ง แตกแยก บีบคั้นในความรัก

6.4    ษัษฏะ อัษฏะ ริผฆฏะ จันทรโทษ หมายถึงโทษร้ายของดวงจันทร์ที่อยู่สถิตย์อยู่เรือนทุสถานภพจากลัคน์ในดวงฤกษ์นั้นๆ ทุสถานะภพ-คือเรือนที ๖ (อริ) เรือนที่ ๘ (มรณะ) และเรือนที่ ๑๒(วินาศน์) ถือว่าเป็นอัปมงคลแก่ดวงฤกษ์

6.5    สเคราะห์จันทรโทษ เ
งื่อนไขนี้เกี่ยวข้องกับการให้ฤกษ์มงคลสมรส โดยเฉพาะห้ามจันทร์ต้องไม่สัมพันธ์กับดาวศุภเคราะห์หรือดาวปาปเคราะห์ใดๆ เช่น กุม เล็ง หรือมีทรรศนสัมพันธ์ไปในทางเบียฬจันทร์   ส่วนเรือนที่ ๗ และเรือนที่ ๘ จากลัคนาในดวงฤกษ์มงคลสมรสต้องว่าง ไม่มีดาวเคราะห์สถิตย์



6.7    ทุระมุหูรตะ คือช่วงเวลาที่ไม่เป็นมงคล (ดูจากปฏิทินปัญจางค) หมายถึงช่วงเวลา ๒ มหานาที (๔๘ นาที)โดยวันหนึ่งๆจะแบ่งเวลาออกเป็น ๓๐ มหูรตะ กลางวัน ๑๕ มุหูรตะ กลางคืน ๑๕ มุหูรตะ ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้

มุหูรตะกลางวัน (มุหูรตะให้โทษได่แก่ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๒ และที่ ๑๕)

(๑) รุทระ        (๒) อหิ            (๓) มิตระ        (๔) ปิตรุ            (๕) วสุ            
(๖) วระ            (๗) วิศเวเทวะ        (๘) วิธิ            (๙) ศตมุขี        (๑๐) ปุรุหุตะ
(๑๑)วหนิ            (๑๒) นักตันจาระ        (๑๓) วรุณ        (๑๔) อรมะ        (๑๕) ภคะ

มุหูรตะกลางคืน (มุหูรตะให้โทษได่แก่ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๖ และที่ ๗)

(๑) ศิริศะ        (๒) อชิปทะ        (๓) อหิรพุธยะ        (๔) ปูษะ            (๕) อัศวิ            
(๖) ยม            (๗) อัคนี            (๘) วิธตรุ        (๙) จันทะ        (๑๐) อทิติ
(๑๑)ชีวะ            (๑๒) วิษณุ        (๑๓) ยุมิคทยุติ        (๑๔) ถยัสถุระ        (๑๕) ศมทรัม

คำว่า ๑ มุหูรตะหมายถึงเวลา ๔๘ นาทีโดยประมาณซึ่งอาจจะผันแปรช่วงเวลาไปตามช่วงเวลาของกลางวันและกลางคืนที่ไม่เท่ากันในแต่ละวันหรือตามฤดูกาล โดยต้องหาเวลาที่แน่นอนของเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวัน แล้วนำมาหารแบ่งให้ได้ ๑๕ ส่วนเท่าๆกันทั้งกลางวันและกลางคืน

นอกจากนี้ยังมีมหูรตะให้โทษที่สัมพันธ์กับวารในสัปดาห์ ดังนี้


วันอาทิตย์-มุหูรตะที่ ๑๔ อรมะ                    วันจันทร์์-มุหูรตะที่ ๘ วิธิ และมุหูรตะที่ ๑๒ นักตันจาระ    
วันอังคาร-มุหูรตะที่ ๔ ปิตรุ และมุหูรตะที่ ๑๑ วาหนิ            วันพุธ-มุหูรตะที่ ๑๐ อทิติ
วันพฤหัส-มุหูรตะที่ ๑๒ นักตันจาระและมุหูรตะที่ ๑๓ วรุณะ        วันศุกร์-มุหูรตะที่ ๔ ปิตรุและมุหูรตะที่ ๘ วิธิ
วันเสาร์-มุหูรตะที่ ๑ รุทระและมุหูรตะที่ ๒ อหิ

6.8    คณะทาณะดารา คือช่วงเวลาที่ไม่เป็นมงคลจากช่วงระยะของดิถี ราศี และนักษัตร  เงื่อนไขนี้จะให้ผลเป็นพิเศษสำหรับฤกษ์มงคลเปิดห้างร้าน เริ่มกิจการใหม่ โดยต้องงดเว้นเวลา ๔๘ นาทีสุดท้ายของดิถีข้างขึ้น ๕ ค่ำ ๑๐ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำและช่วงเวลา ๔๘นาทีแรกของดิถีข้างแรม ๑ ค่ำและ ๑๑ ค่ำ (คำนวนตามดิถีเพียร) และงดเว้นช่วงเวลาคัณทานตะ คือระยะ ๒ องศาสุดท้ายของราศีกรกฏ พิจิก และ มีน และระยะ ๒ องศาแรกของราศีสิงห์ ธนู เมษและงดเว้นช่วงเลา ๑ ชั่วโมง ๓๖ นาทีสุดท้ายของ อาศเลษะ เชษฐะ เรวดีและอัศวิณี และ๑ ชั่วโมง ๓๖ นาทีแรกของมาฆะนักษัตร

 

6.9    ปาปษัทวรรค หมายความว่าในวรรคต่างๆในดวงฤกษ์ทั้ง ๗ วรรค(สัปตวรรค) ดาวปาปเคราะห์จะต้องไม่ได้กำลังในวรรคนั้นๆคำว่า”วรรค” แปลว่าส่วน ในระบบโหราศาสตร์ฮินดูมีความละเอียด โดยได้แบ่งเขตของราศีออกเป็นส่วนต่างๆย่อยลงไปอีกเป็นชั้นๆ โดยมีทั้งหมด ๑๖ วรรคเรียกว่า โษฑศวรรค ซึ่งแบ่งจากหยาบไปาละเอียด โดยใน 1 ราศีแบ่งย่อยลงไปจนถึง ฆฑิกางศะ คือ ราศี
หนึ่งแบ่งออกเป็น 150 ฆฑิกางศะและ 1 ฆฑิกางศะยังแบ่งออกอีกเป็น 2 ส่วนรวมเป็นทั้งหมด 300 ส่วน (1 ฆฑิกางศะ= 6 พิลิปดา)  แต่ ณ ที่นี้ให้คำนวนเพียง ษัฑวรรค หรือ ๖ วรรคที่เหลือจากราศี คือ โหรา ตรียางค์ สัปตางศะ นวางศ์ ทวาทศางศะ ตรึมศางศะ

โษฑศวรรค คือ การแบ่งราศี ( 30องศา ) หนึ่งๆ ออกเป็น 16 ส่วน  ซึ่งทางไทยจะนิยมใช้เพียง 3 แบบ คือ ราศี ( ดาวเกษตร ) , ตรียางค์ , นวางค์ ( ฤกษ์ 108 บาทฤกษ์ ) โดยโษฑศวรรคนี้จะมีการแบ่งออกเป็น 16 ส่วนดังนี้ (01) ราศี หรือ อุตตมางศะ , (02) โหรา ,(03) ตรียางค์ หรือ ทาเรกะณะ , (04) ปาทางศะ หรือ จตุรฐางศะ , (05) ปัญจมางศะ หรือ ปัญจางศะ ,(06) ษัษฏางศะ
หรือ ษัฑตางศะ , (07) สัปตางศะ หรือ สัปฏางศะ , (08) อัษตางศะ หรือ อัษฏางศะ , (09) นวางค์ หรือ นวางศะ , (10) ทศางศะ (11) เอกาทศางศะ , (12) ทวาทศศางศะ , (13) ตฤมศางศะ หรือ ตริมศางศะ ,(14) โษทศางศะ ,(15) ษัษฏิอางศะ , (16) ฆฑิกางศะ

6.10    ภฤคุษัทกะ หมายความศุกร์หากอยู่ในเรื่อนที่ ๖ จากลัคน์ในดวงฤกษ์จะให้ผลร้าย ถึงแม้นว่าดาวศุกร์จะเป็นอุจน์ก็ต้องงดเว้นและให้ผลร้ายเป็นพิเศษในฤกษ์มงคลสมรส

6.11    กุชอัษฏมะ (คุชโทษ) หมายความว่ามีดาวอังคารสถิตย์ในเรือนที่ ๘ จากลัคน์ในดวงฤกษ์มงคลสมรส เพราะดาวอังคารสถิตย์ในเรือนที่ ๘ หมายถึงการทำลายกำลังในเรือนที่ ๗ และทำลายความมุ่งหมายและการให้ผลดีของดวงฤกษ์

6.12    อัษฏมลัคนโทษ หมายถึงโทษพิเศษของเรือนที่ ๘ (มรณะ)สำหรับฤกษ์มงคลสมรส กล่าวคือ ลัคน์ในดวงฤกษ์มงคลสมรสจะต้องไม่อยู่เรือนที่ ๘ ของลัคน์ในดวงกำเนิด (ชนมลัคน์) ของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว

6.13    ราศีวิษฆติกา
หรือช่วงเวลาร้ายในแต่ละราศี เรียกว่า ลัคน์ตะยะชะยะ หรือ ตะยะชยะกาล มีอธิบายแล้วใน(1.3) นักษัตร-กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗

6.14    กุณนวางศโทษ หมายความว่า ลัคน์ในดวงฤกษ์ต้องไม่เสวยนวางศ์ของดาวปาปเคราะห์

6.15    วาระโทษ
หมายถึงวันในสัปดาห์ที่ไม่ควรทำการมงคล  คือวันเสาร์ ส่วนวันอังคารต้องงดเว้นเด็ดขาด นอกจากจะได้ศุภผลในทางอื่นมาช่วยเหลือ หรือในกิจการพิเศษเฉพาะด้าน

6.16    คระหโนตปาตะโทษ หมายถึงนักษัตรคราส หรือ ห้ามให้ฤกษ์มงคล ที่ดาวจันทร์เสวยนักษัตรที่มีปรากฏการณ์สุริยคราส หรือจันทรคราส ห้ามเด็ดขาดเฉพาะงานมงคลสมรส มีระยะเวลานาน ๖ เดือนนับตั้งแต่วันที่เกิดคราส

6.17    เอการะกาลาโทษ หมายถึงโทษพิเศษของ วิษฏัมภะโยค เฉพาะที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องนักษัตรโยค

6.18    กรูระสัมยุตโทษ หมายถึงนักษัตรที่ดาวทิตย์เสวยขณะที่โหราจารย์ให้ฤกษ์ และนักษัตรก่อนหลังรวม 3 นักษัตรถือว่านักษัตรเหล่านี้ไม่เป็นมงคล ดังนั้นดาวจันทร์ในดวงฤกษ์จะต้องไม่เสวนักษัตรเหล่านี้   เช่นขณะเมื่อให้ฤกษ์ ดาวอาทิตย์เสวยปุษยะนักษัตรดังนั้น ดาวจันทร์ในดวงฤกษ์จะต้องไม่เสวยนักษัตร (1) ปุรวสุนักษัตร (2) ปุษยะนักษัตร และ (3) อาศเลษะนักษัตร และต้องถืออย่างเคร่งครัดในการให้ฤกษ์มงคลสมรส

6.19    อกาลฆรรชิตะ วริษติโทษ หมายความว่า วันที่มีดินฟ้าอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดปกติ ฝกตกฟ้าร้องนอกฤดูกาล ถือว่าไม่เป็นมงคลแก่กิจการทั้งปวง

6.20    ไวธรุติโทษ หมายถึง โยคร้าย ที่ได้กล่าวไว้แล้วในนักษัตรโยค

6.21    มหาปาตะโทษ
หมายถึง ดาวอาทิตย์และดาวจันทร์เคล่ือนออกจากเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator) ในกรานติ (Declination) เดียวกัน เรียกว่า“วะยะปาทะ” และจะส่งผลให้ผลร้ายมีอิทธิพลมากขึ้น

 

 

จากกฏเกณฑ์ต่างๆตามที่ได้บรรยายมาตลอดตั้งแต่ต้น ถึงแม้นว่าจะมีกฏเกณฑ์ข้อห้ามและโยคเกณฑ์ร้ายอยู่มากมาย แต่ก็ยังมีกฏเกณฑ์ที่จะส่งผลดีและโยคดีที่จะสลายพลังของฤกษ์ร้ายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกัน ดังนั้นในการหาฤกษ์ยามมงคลใดใด การที่จะหลีกเลี่ยงกฏเกณฑ์ที่ส่งผลร้ายได้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปไม่ได้ โหราจารย์ผู้ให้ฤกษ์จำเป็นที่จะต้องรู้ให้ถ่องแท้ชัดเจนว่ามีกฏเกณฑ์ใดสามารถที่จะแก้ไขลดหรือเพิ่มผลดี-ร้ายได้หรือมีกฏเกณฑ์ใดที่แก้ไขไม่ได้และจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด และต้องเลือกเฟ้นกฏเกณฑ์ที่สามารถลดทอนอุปสรรคและแก้ไขผลร้ายในต่างๆดวงฤกษ์และสมพงษ์กับดวงชาตา อีกทั้งต้องให้ดวงฤกษ์นั้นมีกำลัง ส่งเสริมผลดี เพื่อที่ให้กิจการนั้นๆสำเร็จผลได้ตามความมุ่งหมาย

****************************************